C

climate [ภูมิอากาศ]

ภูมิอากาศ คือ ลักษณะเงื่อนไขของบรรยากาศ ที่อยู่บริเวณใกล้ผิวโลก ณ บริเวณใดบริเวณหนึ่ง ซึ่งได้จากการเฉลี่ยข้อมูลสภาพอากาศระยะยาว (หลายทศวรรษ แต่ในวงการอุตุนิยมวิทยาจะใช้ค่าเฉลี่ย 30 ปี)  โดยปกติเมื่อกล่าวถึงภูมิอากาศ จะระบุขอบเขตของพื้นที่ เช่น ภูมิอากาศตามละติจูด (latitudinal climates) ภูมิอากาศของภูมิภาค (regional climate) และภูมิอากาศท้องถิ่น

ในแต่ละพื้นที่ รูปแบบของภูมิอากาศจะแตกต่างกัน โดยมีตัวชี้วัดของสภาพอากาศที่สำคัญ ได้แก่ ปริมาณฝนเฉลี่ยรายเดือน อุณภูมิสูง-ต่ำรายวัน ความชื้น จำนวนชั่วโมงที่มีแสงแดด การปกคลุมของเมฆ ความเร็วลม ทิศทางลม พลังงานแสงอาทิตย์ และลมพายุ

โดยทั่วไป การแบ่งโซนภูมิอากาศของโลก จะใช้เส้นละติจูด (ซึ่งเป็นเส้นตัดขวางแนวนอนรอบโลก) เป็นแนวในการแบ่ง โดยใช้เส้นละติจูด 4 เส้น (ไม่นับรวมเส้นศูนย์สูตรตรงกลาง) คือเส้นทรอปปิค (Tropic) ซึ่งเป็นเส้นละติจูดที่ 23.5° และ 66.5° เหนือและใต้ของเส้นศูนย์สูตร

เส้นละติจูดสองเส้นบริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตรคือเส้น “ทรอปิคออฟแคนเซอร์” (Tropic of Cancer) ที่อยู่ทางตอนเหนือ และเส้น “ทรอปิคออกแคปริคอร์น” (Tropic of Capricorn) ที่อยู่ทางใต้ ซึ่งเส้นทรอบิคนี้เป็นระดับสูง-ต่ำสุดที่พระอาทิตย์อาจขยับขึ้นเหนือหรือลงใต้ได้  ในส่วนปลาย บริเวณใกล้กับขั้วโลกเหนือ-ใต้ ที่ละติจูด 66.5° เหนือและใต้ จะใช้เส้น “อาร์คติดเซอร์เคิล” (Arctic Circle) และ “แอนตาร์คติดเซอร์เคิล” (Antarctic Circle) ตามลำดับ เป็นแนวแบ่งโซนภูมิอากาศ

นอกเหนือจากระยะห่างจากเส้นศูนย์สูตรแล้ว ภูมิอากาศในแต่ละพื้นที่ยังได้รับอิทธิพลจาระดับความสูงต่ำของพื้นที่ ระยะห่างจากทะเล และปัจจัยทางภูมิศาสตร์อื่นๆ ทำให้ลักษณะภูมิอากาศแตกต่างกันไป  โดยทั่วไป มีการแบ่งภูมิอากาศออกเป็น 10 โซน คือ

1. เขตภูมิอากาศร้อนชื้น Tropical Climates ฝนตกมากตลอดทั้งปี อุณหภูมิสูงทั้งปี บรรยากาศมีความชื้นสูง มีช่วงฤดูแล้งสั้นๆ
2. เขตภูมิอากาศกึ่งร้อนชื้น Subtropical Climates อุณหภูมิมีการเปลี่ยนแปลงมากกว่าเขตภูมิอากาศร้อนชื้น มีช่วงฤดูฝนและฤดูแล้งที่ชัดเจน และนานเท่าๆ กัน
3. เขตภูมิอากาศแห้งแล้ง Arid Climates มีฝนตกค่อนข้างน้อยตลอด อุณหภูมิต่างกันมากในช่วงกลางวัน-กลางคืน และในแต่ช่วงฤดูร้อน-ฤดูหนาว
4. เขตภูมิอากาศกึ่งแห้งแล้ง Semi-arid Climates คล้ายกับภูมิอากาศแห้งแล้ง แต่รุนแรงน้อยกว่า  มีปริมาณฝนตกมากกว่า และอุณหภูมิในแต่ละฤดูกาลผันผวนน้อยกว่า
5. เขตภูมิอากาศเมดิเตอร์เรเนียน Mediterranean Climates ในช่วงฤดูร้อน อากาศจะร้อนและแห้ง แต่ในช่วงฤดูหนาวจะมีอากาศเย็นและชื้น
6. เขตภูมิอากาศอบอุ่น Temperate Climates มีฝนตกเฉลี่ยใกล้เคียงกันตลอดปี และมี 4 ฤดูกาลอย่างชัดเจน โดยมีอากาศร้อนในฤดูร้อนและหนาวเย็นในช่วงฤดูหนาว และมีหิมะตกด้วย
7. เขตภูมิอากาศอบอุ่นทางเหนือ Northern Temperate Climates คล้ายกับเขตภูมิอากาศอบอุ่น แต่ฤดูหนาวยาวนานกว่ามาก อาจนานถึง 9 เดือน และปริมาณหิมะตกสูงว่ามาก
8. เขตภูมิอากาศภูเขาสูง Mountain Climates อุณหภูมิค่อนข้างต่ำมาก เมื่อเปรียบเทียบกับที่ราบที่อยู่บริเวณใกล้กัน  มีหิมะตกเป็นประจำ
9. เขตภูมิอากาศขั้วโลก Polar Climates ช่วงฤดูหนาวจะหนาวจัดและกินเวลานานมาก ส่วนฤดูร้อน อากาศอุ่นขึ้นเล็กน้อย  มีหิมะตกบ่อย ส่วนฝนมีน้อยมาก
10. เขตภูมิอากาศชายฝั่งทะเล Coastal Climates อุณหภูมิไม่ต่างกันตลอดทั้งปี ส่วนสภาพอากาศอาจต่างกันตามสภาพของอุณหภูมิของแผ่นดิน-มหาสมุทรบริเวณนั้น

 


 

climate change [การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ]
มีหลายหนวยงานที่พยายามนิยามคําศัพทนี้ จึงทําใหมีคํานิยามหลายอยาง เชน
(1) นิยามโดย WMC
(ก) โดยทั่วไป หมายถึง ความแตกตางของรูปแบบภูมิอากาศแบบตางๆ โดยพิจารณาจากวามีองคประกอบทางอุตุนิยมวิทยาของพื้นที่ใดที่หนึ่ง ที่แตกตางจากคาเฉลี่ยทางสถิติระยะยาว ไมวาจะมีสาเหตุจากอะไร (เชน จากการเปลี่ยนแปลงของรังสีจากดวงอาทิตย การเปลี่ยนแปลงองคประกอบวงโคจรของโลกในระยะยาว กระบวนการทาง
ธรรมชาติ หรือจากการกระทําของมนุษย)
(ข) ใชนความหมายเฉพาะที่หมายถึงการเปลี่ยนแปลงอยางมีนัยสําคัญของคาเฉลี่ย (mean value) ขององคประกอบทางอุตุนิยมวิทยา (โดยเฉพาะอุณหภูมิและปริมาณของ precipitation ) ในชวงระยะเวลาหนึ่ง โดยคาเฉลี่ยดังกลาวไดมาจากการตรวจวัดในระยะยาวหลายทศวรรษหรือนานกวา [WMO (1992), International Meteorological Vocabulary, 2nd Edition, Publication No. 182, WMO’s Website](2) นิยามโดยUNFCCC
การเปลี่ยนแปลงของภูมิอกาศที่มีสาเหตุมาจากกิจกรรมของมนุษย ทั้งโดยตรงและโดยออม ที่ทำใหเกิดการเปลี่ยนแปลงในองคประกบอของบรรยากาศโลก ซึ่งมากไปกวาการผันผวนของภูมิอากาศ ที่สังเกตุไดในชวงเวลาใกลเคียงกัน  [IPCC (1995), Climate Change: A Glossary by the Intergovernmental Panel on Climate Change, IPC’s Website](3) นิยามโดย IPCC
การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ ที่เปรียบเทียบกับบันทึกการสังเกตภูมิอากาศ ซึ่งเกิดขึ้นเพราะการเปลี่ยนแปลงของปจจัยภายในระบบภูมิอากาศ หรือจากปฏิสัมพันธขององคป ระกอบของระบบภูมิอากาศ หรือจากปจจัยภายนอก ทั้งจากปจจัยทางธรรมชาติ หรือจากกิจกรรมของมนุษย  โดยทั่วไป จะไมสามารถแยกแยะปจจัยที่เปนสาเหตุไดชัดเจน  ในการทํานายการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของอนาคตของ IPCC นั้น โดยทั่วไปจะพิจารณาเฉพาะอิทธิพลตอภูมิอกาศ ที่มาจากกิจกรรมของมนุษยที่ทำใหเกิดกาซเรือนกระจกเพิ่มขึ้น หรือจากปจจัยที่เกี่ยวของกับมนุษย [IPCC (1995), Climate Change: A Glossary by the Intergovernmental Panel on Climate Change, IPC’s Website]

 


 

climate variability [ความผันผวนของภูมิอากาศ]ระบบภูมิอากาศที่แปรปรวนไปจากแบบแผนของภูมิอากาศที่เคยเปนอยูในอดีต ที่แตกต่างไปจากค่าเฉลี่ยทางสถิติ ทั้งในเชิงของพื้นที่ และในเชิงของเวลา เชน ในแตละปจะมีช่วงฤดูรอนและฤดูฝน ซึ่งโดยปกติ จะมีฝนเริ่มตกในปลายเดือนเมษายน (ในกรณีของประเทศไทย)  แตถามีฝนตกอยางตอเนื่องตั้งแตตนเดือนเมษายน ก็ถือวามีความผันผวนของฝนเกิดขึ้น ซึ่งความผันผวนของภูมิอากาศนั้นเกิดไดกับฝน (ปริมาณ ชวงเวลาที่ตก การเวนชวงระยะเวลา แล้ง) อุณหภูมิ ลม และสภาพอากาศต่างๆ

 


 

climate system [ระบบภูมิอากาศ]ประกอบด้วยระบบ 5 ระบบที่ปฏิสัมพันธ์กัน คือ
(ก) บรรยากาศ (atmosphere) หรือบางครั้งก็เรียก อากาศภาค ซึ่งประกอบด้วยก๊าซต่างๆ ในอากาศ ที่อยู่บนผิวโลก
(ข) อุทกนิเวศ (hydrosphere) ซึ่งประกอบด้วยสิ่งที่เป็นน้ำและของเหลวที่อยู่ใต้ผิวโลกและบนผิวโลก
(ค) น้ำแข็งบนโลก (cryosphere) หิมะและน้ำแข็งที่อยู่ใต้ผิวโลกและบนผิวโลก
(ง) ธรณีภาค (lithosphere) ส่วนเป็นผืนดินของผิวโลก เช่น หิน ดิน
(จ) ชีวมณฑล (biosphere) สิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่อยู่บนโลก ทั้งพืช สัตว์ รวมทั้งอินทรีย์วัตถุต่างๆ

 


 

carbon dioxide equivalent – CDE [ค่าเทียบเท่าคาร์บอนไดออกไซด์]เป็นค่าที่ระบุปริมาณก๊าซเรือนกระจกชนิดต่างๆ ที่รวมกัน ว่ามีศักยภาพในการทำให้เกิดโลกร้อน (global warming potential – GWP) รวมกันเท่ากันปริมาณของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนเท่าใด โดยค่าเทียบเท่าคาร์บอนไดออกไซด์นี้มักจะต้องระบุช่วงระยะด้วย (โดยทั่วไปใช้ระยะเวลา 100 ปี)   ค่าเทียบเท่าคาร์บอนไดออกไซด์นี้ได้จากการคูณปริมาณก๊าซเรือนกระจกนั้นกับค่าศักยภาพในการทำให้โลกร้อน (GWP) และมักจะใช้ในการแสดงปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยรวม หรืออัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหลายชนิด ในช่วงหนึ่งๆ โดยปกติมักจะช่วยเป็นหน่วยล้าน หรือพันล้านตันของเทียบเท่าคาร์บอนไดออกไซด์ (million meteric tones of CO2 equivalent = MMTCDE หรือ billion metric tonnes of CO2 equivalent = giga tonnes of CO2 equivalent GtCO2eq)

ค่าเทียบเท่าคาร์บอนไดออกไซด์นี้มีต่างจาก คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (Equivalent carbon dioxide – CO2e)

 


 

carbon footprint [รอยเท้าคาร์บอน]เป็นข้อมูลประมาณของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของบุคคล องค์กร หรือกิจกรรม ซึ่งได้จากผลรวมของกิจกรรมสองประเภท คือ Primary Footprint คือ ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรง อันเนื่องมาจากการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอซซิล  การขนส่ง การเดินทางโดยเครื่องบิน เป็นต้น และ Secondary Footprint คือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการบริโภคผลิตภัณฑ์ โดยประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของแต่ผลิตภัณฑ์ ตลอดวัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ การขนส่ง การประกอบชิ้นส่วน การใช้งาน และการจัดการซากผลิตภัณฑ์หลังใช้งาน [ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน “life cycle assessment“] โดยการคำนวณรอยเท้าคาร์บอนทั้งสองประเภทจะทำออกมาในรูปของคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (นิยมใช้หน่วยกิโลกรัมหรือตัน)

คำนิยามอื่นๆของรอยเท้าคาร์บอน คือ ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งหมดที่มาจากการกระทำของมนุษย์แต่ละคนในระยะเวลา 1 ปี (ซึ่งรวมถึงการปล่อยออกมาผ่านการใช้พลังงานด้วย) นิยามนี้ให้ความสำคัญเรื่องของการคำนวณปริมาณคาร์บอนของแต่ละบุคคล ซึ่งมาจากแนวความคิดที่ว่ารอยเท้านี้เป็นสิ่งที่มาจากการกระทำของมนุษย์ทุกคนรวมกัน รอยเท้าคาร์บอนอาจจะพิจารณาเฉพาะการปล่อยโดยตรงอย่างเดียว (คำนวณจากปริมาณพลังงานที่ใช้ในครัวเรือนและการขนส่ง รวมไปถึงการเดินทางด้วยรถยนต์ เครื่องบิน รถไฟ หรือการขนส่งสาธารณะอื่นด้วย) หรืออาจจะรวมเอาการการปล่อยทางอ้อมไว้ด้วยก็ได้ (รวมปริมาณแก๊สคาร์บอสได้ออกไซด์ที่เป็นผลมาจากสินค้าและบริการที่บริโภคในแต่ละวัน) การคำนวณจากล่าขึ้นบนจะให้ผลรวมเป็นปริมาณแก๊สคาร์บอสไดออกไซด์ที่แต่ละคน ปล่อยออกมาจากกิจกรรมของตัวเอง

การประเมินรอยเท้าคาร์บอนมีประโยชน์ในแง่

  • แสดงปริมาณของก๊าซเรือนกระจกที่มาจากผลิตภัณฑ์หรือบริการนั้น
  • รับทราบผลกระทบของแต่ละขั้นตอนในการผลิตผลิตภัณฑ์ ทำให้สามารถที่จะแจกแจงและดำเนินการวางแผนกลยุทธ์ในการลดปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงตลอดทั้งห่วงโซ่การผลิต
  • สำหรับใช้ในการติดฉลากคาร์บอนบนสินค้า เพื่อส่งเสริมให้ผู้บริโภคได้เลือกสินค้าที่มีส่วนช่วยในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
  • สำหรับใช้ในการชดเชยคาร์บอนของบุคคลหรือองค์กร เพื่อที่จะช่วยสนับสนุนให้มีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในที่อื่น ที่มาชดเชยให้กับกิจกรรมของตัวเอง

 


 

carbon label [ฉลากคาร์บอน]

บางครั้งก็เรียกสั้นๆ ว่า ฉลากรอยเท้าคาร์บอน ซึ่งเป็นฉลากสำหรับใช้บนผลิตภัณฑ์ที่แสดงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์นั้นๆ [ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน “carbon footprint“]

เกณฑ์หรือประเภทของฉลากคาร์บอนแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คือ

  1. ฉลากคาร์บอนที่เป็นแบบ carbon footprint ที่บ่งบอกถึงปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยสินค้าชนิดเดียวกันอาจจะมีการใช้วัตถุดิบตั้งต้นที่แตกต่างกัน รวมถึงมีระยะทางการขนส่งไม่เท่ากัน ย่อมมีระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแตกต่างกันโดยธรรมชาติ เช่น สินค้าที่ผลิตในท้องถิ่น (Local products) ที่อาจจะมีการผลิตที่ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเท่าใดนักเมื่อเปรียบเทียบกับสินค้าที่ผลิตจากต่างพื้นที่ ในที่สุด สินค้าที่สองชิ้นนี้อาจจะมีฉลาก carbon footprint ที่เท่ากันก็ได้
  2. ฉลากคาร์บอนที่บ่งบอกระดับปริมาณลดลงของการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดลงนั้นอาจจะมาจาก “ฐาน” การปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่แตกต่างกัน เช่น แชมพูสระผมยี่ห้อ a ติดฉลากคาร์บอนบ่งบอกว่าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 20 กรัมต่อสินค้า (ซึ่งเดิมเคยปล่อย 100 กรัมต่อสินค้า 1 ชิ้น) ในขณะที่ยี่ห้อ b ก็ติดฉลากบ่งบอกว่าลดก๊าซเรือนกระจก 20 กรัมต่อสินค้าเช่นกัน (แต่เดิมเคยปล่อย 150 กรัมต่อสินค้า 1 ชิ้น) ดังนั้น สินค้าทั้งสองชนิดปล่อยก๊าซเรือนกระจกไม่เท่ากัน ทั้งๆ ที่จะมี “ตัวเลข” บนฉลากเท่ากัน นั่นคือ 20 กรัมต่อสินค้า 1 ชิ้น
  3. ฉลากคาร์บอนจะบ่งบอกอัตราการลด (ร้อยละ) ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยสินค้า 2 ชนิดมีฉลากที่บ่งบอกว่าอัตราการลด คือ 10% แต่หากปริมาณการปล่อยดั้งเดิมนั้นไม่เท่ากัน เช่น ย่อมหมายถึงว่า สินค้าทั้งสองชนิดย่อมปล่อยก๊าซเรือนกระจกแตกต่างกัน เช่น สินค้า c เดิมเคยปล่อยก๊าซเรือนกระจก 100 กรัม ต่อสินค้า ดังนั้น ปัจจุบันปล่อยเพียง 90 กรัมต่อสินค้า ในขณะที่สินค้า d เดิมเคยปล่อยก๊าซเรือนกระจก 150 กรัมต่อสินค้า ในขณะที่สินค้า d เดิมเคยปล่อยก๊าซเรือนกระจก 150 กรัมต่อสินค้า ดังนั้น ปัจจุบัน ปล่อยเพียง 135 กรัมต่อสินค้า ซึ่งยังมากกว่าสินค้า c ทั้งๆ ที่ฉลาก ระบุตัวเลขเท่ากัน
  4. ฉลากคาร์บอนที่บ่งบอกการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือการลดก๊าซเรือนกระจก เฉพาะกระบวนการผลิต ซึ่งเป็นที่นิยม เนื่องจากง่ายต่อการคำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แต่การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการขนส่งก็มีความสำคัญเช่นกัน เนื่องจากการขนส่งเป็นต้นกำเนิดของก๊าซเรือนกระจกที่มีสัดส่วนค่อนข้างสูง

ฉลากคาร์บอนเกิดขึ้นครั้งแรกในสหราชอาณาจักรเมื่อเดือนมีนาคม 2550 ซึ่งได้รับความสนใจอย่างมากจากผู้ผลิตสินค้าอุปโภค-บริโภค โดย Tesco Plc. ซูเปอร์มาร์เก็ตรายใหญ่ ได้เริ่มติดสลาก Carbon Footprint บนภาชนะบรรจุสินค้า ภายใต้ Private brand ของตนเอง ประมาณ 20 รายการ วางขายในห้าง Tesco ทั่วประเทศ และการติดป้ายบอกจำนวนคาร์บอนก็ได้แพร่หลายไปทั่วยุโรป เป้าหมายเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เห็นและเข้าใจได้ง่ายว่า สินค้าแต่ละชนิด เป็นที่มาของคาร์บอนไดออกไซด์ในขบวนการผลิต ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม มากน้อยเพียงใด และให้ผู้ซื้อเป็นผู้ตัดสินใจ

ข้อดีของฉลากคาร์บอน

  • ในแง่ของการส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน เมื่อพิจารณาเป้าหมายในการทำฉลากคาร์บอนแล้ว จะทำให้เห็นข้อมูลและเข้าใจได้ง่ายว่า สินค้าแต่ละชนิดนั้นเป็นที่มาของคาร์บอนไดออกไซด์ในขบวนการผลิตที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากน้อยเพียงใดและให้ผู้ซื้อเป็นผู้ตัดสินใจ
  • เมื่อมีการนำมาตรการฉลากคาร์บอนมาใช้กับสินค้า ถือเป็นการส่งเสริมหรือกระตุ้นให้บริษัทผู้ผลิตตื่นตัวในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ภายใต้สลากใหม่ที่จะได้รับความสนใจและส่งผลต่อการเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภค
  • มาตรการฉลากคาร์บอนจะนำไปสู่การปรับปรุงขบวนการผลิตและระบบการจำหน่ายสินค้าครั้งใหญ่ของผู้ผลิตแต่ละราย เพราะในอนาคตการติดตามรอยเท้าคาร์บอนเพื่อทำฉลากคาร์บอน อาจกลายเป็นข้อมูลที่ผู้ซื้อมองหาและเห็นว่าจำเป็นต้องรับรู้ก่อนตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า ท่ามกลางกระแสของโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงไปของภูมิอากาศ
  • ในอนาคต การแข่งขันในตลาดอาจจะไม่จำกัดอยู่เฉพาะราคา คุณภาพมาตรฐาน การออกแบบหรือรสชาติ เพราะการแข่งขันของสินค้าต่อไปคงจะต้องเน้นที่สินค้านั้นเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพียงใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับสากล หากกฎระเบียบใหม่ที่อาจส่งผลต่อการกีดกันทางการค้า ฉลากคาร์บอน จึงอาจต้องเป็นเงื่อนไขที่จำเป็นที่ผู้ผลิตต้องนำมาใช้

ข้อด้อย
เนื่องจากการกำหนดมาตรฐานฉลากคาร์บอนมีหลายลักษณะหรือหลายรูปแบบ ดังนั้น อาจส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตเพื่อการส่งออก เนื่องจากแต่ละประเทศมีมาตรฐานไม่เหมือนกัน ผู้ผลิตสินค้าเพื่อส่งออกและต้องการติดฉลากคาร์บอนอาจต้องเผชิญกับปัญหาความแตกต่างของกฏเกณฑ์ด้านฉลาก และอาจมีผลต่อการเพิ่มต้นทุนแก่ผู้ผลิต