ส่วนประเทศที่มีเกษตรกรทำเกษตรอินทรีย์มากที่สุด 5 อันดับแรก คือ อินเดีย (ุ650,000 ฟาร์ม) ยูกานดา (190,552 ฟาร์ม) เม็กซิโก (169,703 ฟาร์ม) ฟิลิปปินส์ (165,974 ฟาร์ม) และแทนซาเนีย (148,610 ฟาร์ม) โดยทั่วโลกรวมกันมีเกษตรกรอินทรีย์กว่า 2.3 ล้านฟาร์ม
ในส่วนของตลาดออร์แกนิค จากการประเมินของบริษัท Organic Monitor ตลาดออร์แกนิคในปี 2557 น่าจะมีมูลค่าสูงกว่า 60,000 ล้านเหรียญยูโร (ราว 2,363,256 ล้านบาท) โดยตลาดใหญ่ที่สุดอยู่ที่สหรัฐ มีมูลค่าสูงถึง 27,100 ล้านยูโร รองลงมาคือตลาดออร์แกนิคในเยอรมัน (7,900 ล้านยูโร) ฝรั่งเศส (4,800 ล้านยูโร) และจีน (3,700 ล้านยูโร) แต่ตลาดออร์แกนิคที่เติบโตสูงสุดอยู่ในประเทศสวีเดน ซึ่งมีการเติบโตกว่า 40%
ประเทศที่มีอัตราการบริโภคออร์แกนิคสูงสุดคือ สวิสเซอร์แลนด์ ที่ประชาชนใช้จ่ายเงินราว 221 ยูโร/คน/ปี ในการซื้อสินค้าออร์แกนิค รองลงมาคือลักซัมเบริก์ 164 ยูโร/คน/ปี
เป็นที่น่าสังเกตุว่า ร่างยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ พ.ศ. 2559-2564 ที่ยกร่างโดยหน่วยงานราชการ ได้ตั้งเป้าวิสัยทัศน์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์ของประเทศ ให้ “ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิต การบริโภค การค้า และการบริการ เกษตรอินทรีย์ ให้เป็นที่ยอมรับในระดับโลก” แล้วประเทศไทย ปัจจุบันนี้อยู่ลำดับไหน เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศผู้นำเกษตรอินทรีย์โลก
* พื้นที่การผลิตเกษตรอินทรีย์มากที่สุด ออสเตรเลีย 107.5 ล้านไร่ : ประเทศไทย 0.235 ล้านไร่
* มีสัดส่วนพื้นที่เกษตรอินทรีย์เปรียบเทียบกับพื้นที่การเกษตรของประเทศ เกาะโฟลค์แลนด์ 36.3% : ประเทศไทย 0.158%
* มีเกษตรกรทำเกษตรอินทรีย์มากที่สุด อินเดีย 650,000 ฟาร์ม : ประเทศไทย 9,961 ฟาร์ม
* ตลาดเกษตรอินทรีย์ภายในประเทศใหญ่ที่สุด สหรัฐอเมริกา 1,071,303.33 ล้านบาท : ประเทศไทย 514.45 ล้านบาท