เวทีวิชาการ เพื่อเรียนรู้การประเมินความเปราะบางของชุมชน

โครงการสนับสนุนการปรับตัวฯ ได้พยายามสนับสนุนให้แต่ละพื้นที่ได้ใช้เครื่องมือประเมินความเปราะบาง เนื่องจากตระหนักว่า ความเปราะบางมีผลต่อการตัดสินใจเลือกทางเลือกในการปรับตัวและการวางแผนปรับตัวต่อสภาวะอากาศผันผวนและภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง   ดังนั้นชุมชนจำเป็นต้องเรียนรู้และเข้าใจวิธีการประเมินความเปราะบาง จึงได้จัดเวทีวิชาการขึ้นมาในวันที่ 2 สิงหาคม 2554 ณ อาคารเคยูโฮม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

โดยความเปราะบางจะพิจารณาในประเด็นดังต่อไปนี้

  • การเปิดรับ ภัยเสี่ยงจากสภาพอากาศหรือการเปิดรับต่อผลกระทบ ถ้าภัยเสี่ยงมากก็อาจจะมีความเปราะบางมาก เช่น พิจารณว่าประสบกับภัยบ่อยแค่ไหน ความถี่เท่าไหร่
  • ความอ่อนไหว/ความไวต่อผลกระทบ คือ ขนาดของปัญหา ถ้ามีความอ่อนไหวมาก ก็จะมีความเปราะบางมาก
  • ความสามารถในการรับมือ คือ การดำเนินชีวิตต่อไปหลังจากเผชิญปัญหา ถ้ามีความสามารถในการรับมือน้อย ก็จะมีความเปราะบางมาก

โดยสรุป ความเปราะบาง = ความเสี่ยง/ความสามารถในการรับมือ  โดย ความเสี่ยง คือ การเปิดรับต่อผลกระทบของสภาพภูมิอากาศ + ความอ่อนไหว/ความไวต่อผลกระทบ

ทั้งนี้ ในแต่ละพื้นที่จะมีความเปราะบางแตกต่างกันออกไป เนื่องจากมีวิถีชีิวิตการทำมาหากินและลักษณะภูมิประเทศแตกต่างกัน การที่มีความเสี่ยงในพื้นที่สูง ไม่ได้หมายถึง ต้องมีความเปราะบางสูงเสมอไป เพราะต้องพิจารณาถึงขีดความสามารถในการรับมือร่วมด้วย  และในบางพื้นที่จากโครงการนำร่อง เมื่อมีการประเมินความเปราะบางเบื้องต้นแล้ว พบว่า กลุ่มคนที่ยากจนที่สุด ไม่ใช่กลุ่มคนที่เปราะบางที่สุด แต่ความจนทำให้เกิดทางเลือกน้อยลง