ผู้ปลูกชาจึงต้องการให้รัฐบาลอินเดียเข้ามาดูแล และให้ทุนวิจัยเรื่องนี้ อย่างจริงจัง เพื่อหาข้อสรุปให้แน่ชัด ว่า รสชาติที่เปลี่ยนไปนั้น เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศจริงหรือไม่อย่างไร
รัฐอัสสัมเป็นแหล่งผลิตชาสำคัญ มากถึง 55% ของอินเดีย และคิดเป็น 31% ของผลผลิตรวมของโลก จากปัญหาอุณหภูมิที่สูงขึ้นและการตกของฝนเปลี่ยนแปลงไป จึงกลายเป็นข้อกังวลสำหรับผู้ผลิตเป็นอย่างมาก โดยจากข้อมูลการผลิตพบว่า ในปี 2007 รัฐอัสสัมผลิตชาได้ประมาณ 564,000 ตัน และลดลงเหลือ 487,000 ตัน ในปี 2009 ล่าสุดในปี 2010 ผลผลิตรวม เหลือเพียง 460,000 ตัน จะเห็นได้ว่า ผลผลิตลดลงอย่างต่อเนื่อง และกระทบต่อราคาขายในตลาดในที่สุด
Mridul Hazarika ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยชา (Tea Research Association) ซึ่ง เป็นสถาบันวิจัยชาที่มีชื่อเสียงของโลก ได้กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศนั้นมีผลต่อการผลิตชาในรัฐอัสสัม เพราะภูมิภาคนี้ มีอุณหภูมิสูงขึ้น 2 องศาเซลเซียส ในช่วง 8 ทศวรรษ ที่ผ่านมา
Kakaty นักวิจัยของสถาบันวิจัยชา ได้ทำการศึกษาสถิติของอุณหภูมิเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิที่เพิ่ม ขึ้น ปริมาณฝนที่ผันแปรกับผลผลิตชา (tea yields) พบ ว่า จำนวนวันที่มีแสงแดด ลดลงในช่วงฤดูฝนปีนี้ จึงส่งผลให้ผลผลิตชาลดลงและความชื้นในอากาศที่เพิ่มขึ้นทำให้รสชาติของชา เปลี่ยนแปลงไป (รสชาติแย่ลง) การที่มีความชื้นสูงขึ้นยังทำให้แมลงศัตรูพืชเข้าทำลายชาได้ง่าย หรือ ที่เรียกว่า “tea mosquito bug”
จากผล ผลิตชาที่ลดลง อาจส่งผลต่อเนื่องไปยังภาคแรงงาน เนื่องจากมีพนักงานโรงงานผลิตชา กว่า 3 ล้านคน ในอินเดีย ที่อาจจะได้รับผลกระทบจากเหตุดังกล่าว และส่วนใหญ่เป็นผู้มีรายได้น้อย
ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิที่สูงขึ้นและรูปแบบการตกของฝนที่เปลี่ยนไป จึง กลายเป็นผลกระทบต่อผลผลิตและรสชาติที่เปลี่ยนไป และเป็นข้อกังวลต่อกลุ่มผู้ผลิตชา กว่า 400 ราย รวมถึงอาจส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ ในวงกว้างของอินเดีย