- ครอบครัวที่มีรายได้น้อย ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกหรือทำให้เกิดโลกร้อนเพียงเล็กน้อยเท่านั้นเพราะพวกเขามีระดับการบริโภคที่ต่ำมากเพราะกิจกรรมการบริโภคขึ้นกับรายได้ ในขณะที่จำนวนผู้บริโภคและระดับการบริโภค (ขึ้นกับรายได้) ต่างหากที่ทำให้เกิดโลกร้อนอย่างมีนัยสำคัญ
- เขามีข้อโต้แย้งว่า ความรับผิดชอบต่อปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ควรคิดคำนวนโดยขึ้นกับปริมาณของแต่ละบุคคล มากกว่าผลรวมของทั้งประเทศที่แยกเป็นภาคส่วนในการผลิต เพราะปริมาณการบริโภครายหัวของคนรวยและคนจนไม่เท่ากัน (คนจนปล่อยน้อย คนรวยปล่อยมาก)
- หากพิจารณาการจัดการกับการเพิ่มขึ้นของประชากร การวางแผนครอบครัว จะสามารถลดความเปราะบางต่อผลกระทบของการเปลี่ยนปลงสภาพภูมิอากาศ ของกลุ่มผู้มีรายได้น้อยได้ ในขณะเดียวกัน การเพิ่มขีดความสามารถให้กับผู้คนในการรับมือกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ ถือเป็นงานเร่งด่วนเพราะจะเป็นประโยชน์มากต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนทั้งในด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ตลอดจน การบริการในภาวะฉุกเฉินต่างๆ
แน่นอนอาจจะมีข้อแย้งว่าหากประชากรน้อยก็ย่อมจะมีการบริโภคต่ำ (รายงานส่วนใหญ่มักจะกล่าวไว้เช่นนี้) แต่หากมาพิจารณาถึง ข้อมูลเปรียบเทียบระหว่างอัตราการเิ่พิ่มขึ้นจำนวนประชากรกับปริมาณการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในปี 1980 – 2005 พบว่่า ในช่วง 35 ปีที่ผ่านมา Sub-Saharanของแอฟริกา มีอัตราการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรอยู่ที่ 18.5% ของอัตราการเพิ่มขึั้นของประชากรทั้งโลกแต่มีส่วนแบ่งในการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แค่เพียง 2.5% ในขณะที่ ฝั่งอเมริกาเหนือ มีอัตราการเติบโตของจำนวนประชากรอยู่ที่ 4.0% แต่มีสัดส่วนการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึุง 13.9% ของทั้งโลก นี่เองที่เป็นข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งที่ชี้ให้เห็นว่า การบริโภค มีผลอย่างยิ่งต่อระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและภาวะโลกร้อน
เมื่อพิจารณาถึงการคำนวนการปลอดปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อหาความรับผิดชอบ ของประชาคมโลก จากข้อมูลพบว่า จีนมีอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรที่ 15.3% และมีสัดส่วนการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 44.5% ซึ่งเป็นปริมาณที่สูงมาก ซึ่งนี่เอง เป็นข้อเท็จจริงที่ว่า การคำนวนปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกนั้นคำนวนมาจากการผลิตสินค้าและจัดสรรปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้กับประเทศผู้ผลิตสินค้าหรือเป็นแหล่งที่ตั้งของโรงงานการผลิต แต่ไม่ได้คำนวนการปลดปล่อยจากผู้บริโภคสินค้านั้่นๆ จึงเกิดคำถามขึ้นว่า …เพราะอะไร ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น?
หากเรา พิจารณาในปี 1980 กลุ่มประเทศในอเมริกาเหนือและอีกหลายประเทศในยุโรป มีปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงมาก แต่ในช่วง 35 ปีที่ผ่านมา ยุโรปมีส่วนแบ่งอัตราการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำมากจนติดลบ … ทั้งนี้เป็นเพราะโรงงานอุตสกรรมหรือกระบวนการผลิตในยุโรปได้ปิดตัวลงและได้ย้ายฐานการผลิตไปยังกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ฉะนั้นหากพิจารณาให้ลึกซึ้ง ถึงการจัดสรรปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อหัวผู้บริโภคของประชากรในแต่ละประเทศ ปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประชากรในยุโรปและอเมริกาเหนือ จะต้องมากกว่านี้แน่นอน และปริมาณการปลดปล่อยที่จีนก็จะมีสัดส่วนที่ต่ำลงเมื่อพิจาณาจากสัดส่วนรวมของทั้งโลก
ซึ่งการพยายามปิดบังอัตราการเติบโตของปริมาณการบริโภค (Consumption Levels) นั้น จะยิ่งเป็นการเ่ร่งอัตราการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศมากขึ้น
โดยสรุป แม้จำนวนประชากรบนโลกดูเหมือนจะเป็นตัวที่ก่อให้เกิดภาวะกดดันต่อการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและส่งผลให้เกิดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศในปริมาณมาหาศาล แต่กลุ่มประชากรทีี่ยากจนหรือมีรายได้น้อย ในหลายประเทศที่กำลังพัฒนา พวกเขากลับปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณต่ำมากเมื่อเีทีียบกับกลุ่มชนชั้นกลางขึ้นไปในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่พัฒนาแล้ว ดูเหมือนว่าในขณะที่สังคมโลกกำลังพยายามชี้ว่า การเติบโตของจำนวนประชากรจะเป็นตัวการที่ทำให้เกิดโลกร้อนแต่ถ้าหากว่าประชากรส่วนใหญ่ที่เพิ่มมากขึ้นนั้นเป็นประชากรในกลุ่มผู้ยากจนหรือมีรายได้น้อย ประเด็นที่ว่า การเพิ่มขึ้นของประชากรเป็นตัวทำให้โลกร้อนก็คงจะตกไป แต่ ความจริงก็ คือ ปริมาณหรือระดับในการบริโภค (Consumption Levels) ต่างหาก เป็นสาเหตุที่แท้จริงที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนขึ้น สะสมมาตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน
ที่มาข้อมูล: Tiempo Issue 74 January 2010:The Consumption problem by David Satterthwai