อุทยานแห่งผืนดิน : จากการล่าสัตว์และเก็บของป่า สู่ทุนนิยมโลกาภิวัฒน์และโลกหลังจากนี้
ผู้แต่ง:

กิตติพล เอี่ยมกมล (บรรณาธิการแปล) Gunnar Rundgren (เขียน)

สำนักพิมพ์:

สวนเงินมีมา และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

วันที่พิมพ์:

มิถุนายน 2557

Summary:

แปลจากหนังสือ Garden Earth: From Hunter and Gatherer to Global Capitalism and Thereafter ซึ่งเขียนโดยกุนนาร์ รุนด์เกรน (2013)  ส่วนแรกของหนังสืออธิบายพัฒนาการของสังคมมนุษย์ตั้งแต่สมัยโบราณในส่วนที่สัมพันธ์กับธรรมชาติและการจัดองค์กรทางสังคมและเศรษฐกิจ รวมทั้งการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติสำคัญๆ ต่างๆ เช่น ที่ดิน เชื้อเพลิงฟอสซิล  ส่วนที่สองอธิบายถึงปัญหาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและการผลิตอาหาร โดยเฉพาะปัญหาการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มากเกินควร ที่สร้างแรงกดดันต่อระบบนิเวศที่เปราะบางมากขึ้น รวมทั้งการใช้สารเคมีในการเกษตรและระบบอาหาร ที่มีผลต่อสุขภาพอนามัยของผู้คนและสิ่งแวดล้อมโดยรวม  ส่วนที่สามเป็นการวิเคราะห์องคาพยพและกลไกทางสังคมที่มนุษย์ได้สร้างขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องวัฒนธรรม ค่านิยม และบรรทัดฐานในการดำเนินชีวิตในทุกวันนี้ ซึ่งมีผลอย่างมากต่อสิ่งแวดล้อม  ส่วนที่สี่ เป็นการวิเคราะห์ทางเลือกและนโยบายในการแก้ไขปัญหาต่างๆ

รหัสหนังสือ:

9786167368511

จำนวนหน้า:

557

หมวด:

โลกาภิวัฒน์ – สิ่งแวดล้อม