Assuring Food Security in Developing Countries Under the Challenges of Climate Chnage: Key Trade and Development Issues of A Fundamental Transformation of Agriculture
สำนักพิมพ์ : UNCTAD
วันที่พิมพ์ : February 2011
Summary :
ภาคการเกษตรเป็นภาคหนึ่งที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เป็นสาเหตุของโลกร้อน แต่ภาคเกษตรก็สามารถเก็บกักคาร์บอน ช่วยลดโลกร้อนได้  ระบบการเกษตรแบบทั่วไป ที่เน้นการขยายพื้นที่การเกษตร (โดยเฉพาะเมื่อขยายไปในเขตป่า) ระบบการปลูกพืชเชิงเดี่ยว ที่พึ่งพาปัจจัยการผลิต (โดยเฉพาะสารเคมีการเกษตร) และการเลี้ยงสัตว์แบบอุตสาหกรรมเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ภาคการเกษตรปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากขึ้น  แต่ในทางกลับการ การทำเกษตรที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เช่น เกษตรอินทรีย์ เกษตรยั่งยืน ไม่เพียงแต่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แต่ยังช่วยตรึงคาร์บอน ที่เป็นองค์ประกอบของก๊าซเรือนกระจกได้ด้วย  นอกจากนี้ ยังมีส่วนในการช่วยเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหารให้กับประชาชนได้อีกด้วย  การปรับเปลี่ยนนโยบายเป็นเงื่อนไขสำคัญประการหนึ่งของการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ในประเทศ โดยนโยบายระดับประเทศที่ควรต้องมีการปรับปรุงคือ (1) นโยบายที่ส่งเสริมแรงจูงใจด้านราคาที่ไม่ถูกต้องให้กับเกษตรกร เช่น การอุดหนุนสารเคมีการเกษตร (2) การทำให้เกษตรกรมีความมั่นคงในการถือครองที่ดิน ที่ช่วยให้เกษตรกรมีความมั่นใจในการลงทุนในการปรับปรุงพื้นที่การเกษตรของตัวเอง (3) การเพิ่มงบประมาณสนับสนุนการพัฒนาภาคการเกษตรโดยรวม โดยเฉพาะการสนับสนุนเกษตรกรรายย่อย (4) ปรับปรุงระบบการประสานงานในภาครัฐ เพื่อให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในการดำเนินนโยบายการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ ไม่ใช่แต่ละหน่วยงานต่างแยกกันทำงานเฉพาะด้านของตัวเอง (5) นโยบายด้านการเงิน ที่ช่วยให้มีการถ่ายโอนรายได้จากการมาตรการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมาใช้สนับสนุนระบบการเกษตรที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และระบบเกษตรที่ให้บริการด้านสิ่งแวดล้อมอื่นๆ (6) การมีส่วนร่วมของเกษตรกรรายย่อยและเครือข่ายในนโยบายการพัฒนาประเทศโดยรวมและในการพัฒนาภาคการเกษตร (7) การสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรผู้ผลิตและชุมชนท้องถิ่น และ (8) การให้ความสำคัญกับนโยบายและมาตรการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการปรับตัว เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ  นอกจากนี้ จำเป็นที่จะต้องมีการปรับปรุงแก้ไขนโยบายและมาตรการระหว่างประเทศ ที่ทำให้เกิดการบิดเบือนในด้านการค้าและโครงสร้างตลาด เช่น การอุดหนุนการเกษตรในประเทศพัฒนาแล้ว

 

สามารถดาวน์โหลดหนังสือได้ที่ (875KB)

 

For a large number of developing countries, agriculture remains the single most important sector. Climate change has the potential to damage irreversibly the natural resource base on which agriculture depends, with grave consequences for food security. However, agriculture is the sector that has the potential to transcend from being a problem to becoming an essential part of the solution to climate change provided there is a more holistic vision of food security, agricultural mitigation, climate-change adaptation and agriculture’s pro-poor development contribution. What is required is a rapid and significant shift from conventional, industrial, monoculture-based and high-external-input dependent production towards mosaics of sustainable production systems that also considerably improve the productivity of small-scale farmers. The required transformation is much more profound than simply tweaking the existing industrial agricultural systems. However, the sheer scale at which modified production methods would have to be adopted, the significant governance and market-structure challenges at national and international level and the considerable difficulties involved in measuring, reporting and verifying reductions in GHG emissions pose considerable challenges.

 

รหัสหนังสือ : UNCTAD/OSG/DP/2011/1
ประเภทหนังสือ : UNCTAD Discussion Paper No. 201
จำนวนหน้า : 43
หมวด : เกษตรอินทรีย์ นโยบาย