มูลนิธิสายใยแผ่นดินเป็นหน่วยงานสนับสนุนการพัฒนาเกษตรอินทรีย์และการค้าที่เป็นธรรม ให้บริการด้านการจัดการความรู้ การฝึกอบรม และงานวิจัยเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์และการค้าที่เป็นธรรมในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ครอบคลุมทั้งในเรื่องการผลิต การเตรียมการเพื่อขอการตรวจรับรอง การจัดการห่วงโซ่ซัพพลาย การตลาด และนโยบายสนับสนุน
เป็นหนึ่งในองค์กรของกรีนเนท ที่เป็นหน่วยความร่วมมือกลาง ในการขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์และการค้าที่เป็นธรรมในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กรีนเนทในปัจจุบันประกอบด้วย 2 องค์กรคือ สหกรณ์ กรีนเนท จำกัด และมูลนิธิสายใยแผ่นดินมูลนิธิสายใยแผ่นดินก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2543 ได้รับการจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2543 และจัดตั้งเป็นนิติบุคคล เลขทะเบียนลำดับที่ กท 998 เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2544 มูลนิธิฯ มีเป้าหมายหลักในการทำงานส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเกษตร อินทรีย์และวิสาหกิจชุมชน ตลอดจนพัฒนาความเข้มแข็งขององค์กรชุมชน
กรรมการมูลนิธิในปัจจุบัน ประกอบด้วย คุณวรเวทย์ ธำรงธัญลักษณ์ (อดีตข้าราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์) เป็นประธาน, คุณเรวดี ประเสริฐเจริญสุข (กรรมการและเลขานุการ มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน) เป็นรองประธาน, คุณธีรสิทธิ์ อมรแสนสุข (กรรมการผู้จัดการ บริษัทกรีนเนท เอสอี จำกัด) คุณธวัชชัย โตสิตระกูล (ผู้เชี่ยวชาญเรื่องโรงสีชุมชน) เป็นรองประธาน คุณวิฑูรย์ ปัญญากุล (ผู้เชี่ยวชาญด้านเกษตรอินทรีย์) เป็นกรรมการและเลขาธิการ รวมทั้งมีกรรมการที่เป็นผู้รู้-ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องธุรกิจเพื่อสังคมอีกหลายท่าน
ผลงานที่ผ่านมา
ปี พ.ศ. 2560
- กาแฟอินทรีย์รักษาป่า
[ความร่วมมือ] ลงนามบันทึกข้อตกลงกับกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อจัดทำโครงการส่งเสริมและพัฒนาการผลิตกาแฟอินทรีย์รักษาป่าในพื้นที่จังหวัดเชียงราย โดยมีเป้าหมายหลักในการยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตของเกษตรกร - วิสาหกิจชุมชนไร่เชิญตะวัน และกลุ่มห้วยขาแข้งออร์แกนิค
[เครือข่าย] สนับสนุนการพัฒนาระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วมให้กับวิสาหกิจชุมชนไร่เชิญตะวัน จ.เชียงราย และกลุ่มห้วยขาแข้งออร์แกนิค จ.อุทัยธานี - สมาพันธ์เกษตรอินทรีย์พีจีเอส ไทย
[เครือข่าย] ร่วมจัดตั้ง “สมาพันธ์เกษตรอินทรีย์พีจีเอส ไทย” ร่วมกับหน่วยงานที่สนับสนุนและขับเคลื่อนการรับรองแบบมีส่วนร่วม และได้รับเลือกให้เป็นประธานของสมาพันธ์ - หนังสือ “ความรู้เบื้องต้นการค้าที่เป็นธรรม”
[สื่อสิ่งพิมพ์] จัดพิมพ์หนังสือ “ความรู้เบื้องต้นการค้าที่เป็นธรรม” ที่เขียนโดยวิฑูรย์ ปัญญากุล - เว็บไซต์รายชื่อปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
[จัดการความรู้] จัดทำเว็บไซต์รายชื่อปัจจัยการผลิตทางการเกษตรที่อนุญาตให้ใช้ในระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม ภายใต้โครงการ “การสนับสนุนเกษตรกรรายย่อยเข้าสู่ระบบเกษตรอินทรีย์โดยระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม”
ปี พ.ศ. 2559
- เครือข่ายแฟร์เทรด (การค้าที่เป็นธรรม)
[เครือข่าย] เป็นสำนักงานเลขานุการให้กับเครือข่ายไทยแฟร์เทรดมาตั้งแต่เริ่มต้น และจัดกิจกรรมเผยแพร่เรื่องการค้าที่เป็นธรรมหลายกิจกรรม - เครือข่ายไทยพีจีเอสออร์แกนิคพลัส (Thai PGS Organic Plus)
[เครือข่าย] ขับเคลื่อนเครือข่ายไทยพีจีเอสออร์แกนิคพลัส เพื่อสนับสนุนให้หน่วยงานในประเทศนำระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วมไปปฏิบัติใช้
ปี พ.ศ. 2558
- สนับสนุนเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน
[ที่ปรึกษาด้านเทคนิค] โครงการสนับสนุนเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน ของสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ใน 15 จังหวัดภาคเหนือ กลาง และอีสาน - มาตรฐานแฟร์เทรดในไทย
[ที่ปรึกษาด้านเทคนิค] พัฒนาระบบมาตรฐานและการตรวจรับรองแฟร์เทรดสำหรับประเทศไทย ร่วมกับสำนักงานสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ (สกส.) และองค์การอ๊อกแฟม - พัฒนาสมาคมเกษตรอินทรีย์หลวงพระบาง
[ที่ปรึกษาด้านเทคนิค] โครงการพัฒนาสมาคมเกษตรอินทรีย์หลวงพระบาง ซึ่งเป็นโครงการย่อยของ โครงการพัฒนาการท่องเที่ยว การเกษตร และขีดความสามารถในการส่งออกแบบยั่งยืนในประเทศลาว ระยะที่ 2 ภายใต้การสนับสนุนของ United Nations Office for Project Services (UNOPS) มีระยะเวลาดำเนินงาน 23 เดือน (กุมภาพันธ์ 58 – ธันวาคม 59) - สนับสนันเกษตรกรรายย่อย ให้เข้าสู่การพัฒนาเกษตรอินทรีย์
[ที่ปรึกษาด้านเทคนิค] โครงการสนับสนันเกษตรกรรายย่อยให้เข้าสู่การพัฒนาเกษตรอินทรีย์ โดยระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วม ขององค์กรอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ United Nations Food and Agriculture Organization (UN FAO) มีระยะเวลาดำเนินงาน 26 เดือน (ตุลาคม 58 – ธันวาคม 60) - อบรมไทยแฟร์เทรด
[เครือข่าย] จัดอบรมการทำธุรกิจแฟร์เทรด และจัดประชุมเครือข่ายไทยแฟร์เทรด - จัดทำข้อมูลสถานการณ์การผลิตและการตลาดสินค้าอินทรีย์ในไทย
[ที่ปรึกษาด้านเทคนิค] ร่วมกับศูนย์พัฒนาเกษตรอินทรีย์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช ทำการวิจัยภายใต้โครงการศึกษาและจัดทำข้อมูลสถานการณ์การผลิตและการตลาดสินค้าอินทรีย์ ของสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ ระยเวลา 6 เดือน เพื่อศึกษารวบรวมข้อมูลสถานการณ์การผลิตและตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทย รวมทั้งทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภค - พัฒนาเศรษฐกิจชุมชนประมงชายฝั่ง และจัดการทรัพยากรชายฝั่งอย่างยั่งยืน
[กิจกรรมพัฒนา] โครงการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนประมงชายฝั่ง และการขยายการมีส่วนร่วมของสาธารณะชนในการจัดการทรัพยากรชายฝั่งอย่างยั่งยืนผ่านทางการส่งเสริมให้เกิดห่วงโซ่อุปทานของสินค้าประมงอินทรีย์ โครงการนี้มีระยะเวลา 30 เดือน โดยได้รับทุนสนับสนุนจากสหภาพยุโรป มีพื้นที่ทำงาน 6 จังหวัด คือ เพชรบุรี พังงา กระบี่ สงขลา พัทลุง และสตูล - คู่มือนักพัฒนา: การสนับสนุนชุมชน เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
[สื่อสิ่งพิมพ์] “คู่มือนักพัฒนา: การสนับสนุนชุมชน เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” ที่สรุปองค์ความรู้และบทเรียนจากการดำเนินโครงการ รวมทั้งแนวทางในการประเมินความเสี่ยงและความเปราะบาง ตลอดจนการออกแบบและคัดเลือกมาตรการปรับตัวสำหรับชุมชนการเกษตร - หนังสือ “ความรู้เบื้องต้น เพอร์มาคัลเชอร์”
[สื่อสิ่งพิมพ์] แปลและจัดพิมพ์หนังสือ “ความรู้เบื้องต้น เพอร์มาคัลเชอร์” ซึ่งแปลจากหนังสือ Introduction to Permaculture ที่เขียนโดย Bill Mollison และ Mia Slay
ปี พ.ศ. 2557
- โครงการเวทีปฏิรูปการเกษตร เพื่อเกษตรกรรายย่อย
[โครงการพิเศษ] โครงการเวทีปฏิรูปการเกษตร เพื่อเกษตรกรรายย่อย ซึ่งเป็นความริเริ่มระหว่างสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) และองค์กรอ๊อกแฟม เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะการปฏิรูประบบเกษตรกรรมของประเทศ โดยได้รับทุนสนับสนุนจากองค์การอ๊อกแฟม ประเทศไทย มีระยะเวลาดำเนินงาน 9 เดือน (1 เมษายน – 31 ธันวาคม 2557) - สนับสนุนเกษตรอินทรีย์ในเขตลุ่มแม่น้ำโขง
[ที่ปรึกษาด้านเทคนิค] แผนงาน (ระยะ 2) การสนับสนุนเกษตรอินทรีย์ในเขตลุ่มแม่น้ำโขง – การพัฒนาธุรกิจการเกษตรในประเทศลาวและประเทศไทย ซึ่งได้เงินสนับสนุนจากธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (Asian Development Bank -ADB) ระยะเวลาดำเนินการ 21 เดือน (เมษายน 2557 – ธันวาคม 2558) โดยมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนภาคเอกชน ให้ยกระดับห่วงโซ่สินค้าและการเข้าถึงตลาดของผลผลิตเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและที่ผลิตโดยเกษตรกรรายย่อย - พัฒนาเกษตรอินทรีย์ ประเทศลาว
[ที่ปรึกษาด้านเทคนิค] “โครงการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ ประเทศลาว” ให้กับ Japan International Cooperation Agency (JICA) เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของกรมปลูกฝัง กระทรวงกสิกรรมและป่าไม้ ประเทศลาว - จัดตั้งเครือข่าย Thai PGS Organic Plus
[เครือข่าย] จัดตั้งเครือข่ายไทยพีจีเอสเกษตรอินทรีย์พลัส - อบรม “แฟร์เทรดการันรี”
จัดอบรม “แฟร์เทรดการันรี” สำหรับองค์กรสมาชิกของ World Fair Trade Organization (WFTO) ในประเทศไทย
ปี พ.ศ. 2556
- สนับสนุนการเข้าสู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากลของกลุ่มเกษตรกรรายย่อยในเขตปฏิรูปที่ดิน
[ที่ปรึกษาด้านเทคนิค] โครงการศึกษาและสนับสนุนการเข้าสู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์สากลของกลุ่มเกษตรกรรายย่อยในเขตปฏิรูปที่ดิน ซึ่งเป็นโครงการของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ - พัฒนาสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของประมงรายย่อย
[โครงการพิเศษ] “โครงการพัฒนาสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของประมงรายย่อย โดยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประมงออร์แกนิค และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสาธารณะในการเปลี่ยนแปลงนโยบาย” โครงการนี้มีระยะเวลา 30 เดือน โดยได้รับทุนสนับสนุนจากสหภาพยุโรป มีพื้นที่ทำงาน 4 จังหวัด คือ เพชรบุรี พังงา กระบี่ และสงขลา - พัฒนาการรับมือกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
[โครงการพิเศษ] โครงการพัฒนากลไกสนับสนุนการสร้างขีดความสามารถของชุมชนในการรับมือกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและความเสี่ยงในอนาคต ซ่งได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) - จะปรับตัวรับมือโลกร้อนอย่างไร
[สื่อสิ่งพิมพ์] “จะปรับตัวรับมือโลกร้อนอย่างไร: บทเรียนจากความร่วมมือ 4 ฝ่ายและข้อเสนอทางนโยบาย” ซึ่งเป็นบทเรียนจากการทำโครงการพัฒนาและขยายผลต้นแบบการปรับตัวชุมชนรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อความมั่นคงอาหารในประเทศไทย - ความรู้เบื้องต้นเกษตรอินทรีย์
[สื่อสิ่งพิมพ์] “ความรู้เบื้องต้นเกษตรอินทรีย์” (พิมพ์ครั้งที่ 4) ที่เขียนโดยวิฑูรย์ ปัญญากุล
ปี พ.ศ. 2555
- จัดการห่วงโซ่ข้าวเกษตรอินทรีย์ให้กับเครือข่ายข้าวเกษตรอินทรีย์ ประเทศศรีลังกา
[ที่ปรึกษา] วิทยากรอบรมเรื่องการจัดการห่วงโซ่ข้าวเกษตรอินทรีย์ให้กับเครือข่ายข้าวเกษตรอินทรีย์ในประเทศศรีลังกา (27 ก.พ. – 3 มี.ค.) - ให้ความรู้กับเกษตกรรที่ทำเกษตรอินทรีย์ในเมืองหลวงพระบาง ประเทศลาว
[ที่ปรึกษา] เริ่มจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้กับเกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์ในเมืองหลวงพระบาง ประเทศลาว และจัดสัมมนาหน่วยงานเกษตรอินทรีย์ระดับประเทศ ภายใต้โครงการพัฒนาการท่องเที่ยว การเกษตร และขีดความสามารถในการส่งออกแบบยั่งยืนในประเทศลาว ภายใต้การสนับสนุนของ United Nations Conference on Trade and Development (UNCTAD) [ไปดูรายละเอียดเพิ่ม link] - อบรมให้กับเจ้าหน้าที่ของกระทรวงเกษตรและป่าไม้ ประเทศลาว
[ที่ปรึกษา] จัดอบรมให้กับเจ้าหน้าที่ของกระทรวงเกษตรและป่าไม้ ประเทศลาว เพื่อพัฒนาความพร้อมในการจัดตั้งหน่วยตรวจรับรองเกษตรดีที่เหมาะสม ภายใต้โครงการให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคของ United Nations Food and Agriculture Organization (FAO) - กลุ่มสว่างโบราณ จ.ขอนแก่น และกลุ่มเกษตรอินทรีย์ที่เกาะพะงัน จังหวัดสุราษฏร์ธานี
[ที่ปรึกษา] พัฒนาระบบการตรวจรับรองแบบมีส่วนร่วม (participatory guarantee system – PGS) แล้วนำไปทดลองใข้กับกลุ่มสว่างโบราณ จ.ขอนแก่น และกลุ่มเกษตรอินทรีย์ที่เกาะพะงัน จังหวัดสุราษฏร์ธานี - พัฒนาชุมชนเพื่อรับมือกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและความเสี่ยงในอนาคต
[โครงการพิเศษ] “โครงการพัฒนากลไกสนับสนุนการสร้างขีดความสามารถของชุมชนในการรับมือกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและความเสี่ยงในอนาคต” (ระยะเวลา 24 เดือน) โดยได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสร้างเสริิมสุขภาพ (สสส.) เพื่อพัฒนากระบวนการและเครื่องมือสำหรับการสนับสนุนชุมชนท้องถิ่นให้ปรับตัวเพื่อลดความเสี่ยงจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในปัจจุบันและในอนาคต - โครงการห่วงโซ่ข้าว เพื่อปรับตัวรับมือโลกร้อน
[โครงการพิเศษ] “โครงการห่วงโซ่ข้าว เพื่อปรับตัวรับมือโลกร้อน” โดยได้รับทุนสนับสนุนจาก HIVOS (42 เดือน) โครงการให้การสนับสนุนองค์กรเกษตรกรและองค์กรพัฒนาเอกชนใน 5 ประเทศ คือ อินเดีย ศรีลังกา กัมพูชา อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ เพื่อทำงานพัฒนาขีดความสามารถในการปรับตัวของเกษตรกรที่ทำนา ให้ปรับตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ - เกษตรอินทรีย์กับโลกร้อน
[สื่อสิ่งพิมพ์] “เกษตรอินทรีย์กับโลกร้อน” เขียนโดย วิฑูรย์ ปัญญากุล
ปี พ.ศ. 2554
- ขยายผลต้นแบบการปรับตัวชุมชนรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อความมั่นคงอาหารในประเทศไทย
[โครงการพิเศษ] “โครงการพัฒนาและขยายผลต้นแบบการปรับตัวชุมชนรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อความมั่นคงอาหารในประเทศไทย” (ระยะเวลา 30 เดือน) โดยทำงานร่วมกับองค์กรอ๊อกแฟม และได้รับทุนสนับสนุนจากสหภาพยุโรป โครงการนี้มีเป้าหมายในการสนับสนุนให้เกษตรกร 100 ครอบครัว ในจังหวัดยโสธรและเชียงใหม่ ได้ทำกิจกรรมในการพัฒนาปรับปรุงระบบการเกษตรของครอบครัว เพื่อให้มีความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ - จัดตั้งศูนย์กรีนเนทเกษตรอินทรีย์ เพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ผักเกษตรอินทรีย์
[จัดการความรู้] จัดตั้งศูนย์กรีนเนทเกษตรอินทรีย์ ที่อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ผักเกษตรอินทรีย์ - เข้าร่วมการประชุมเกษตรอินทรีย์นานาชาติ IFOAM
[เครือข่าย] เข้าร่วมการประชุมเกษตรอินทรีย์นานาชาติ IFOAM Organic World Congress ที่เมืองนำยังจู ประเทศเกาหลี (26 กันยายน – 1 ตุลาคม 2554) - ศึกษาตลาดเกษตรอินทรีย์ในประเทศจีน
[ที่ปรึกษาด้านเทคนิค] ศึกษาตลาดเกษตรอินทรีย์ในประเทศจีนให้กับ International Trade Centre - เกาะพะงัน เกาะเกษตรอินทรีย์
[ที่ปรึกษาด้านเทคนิค] โครงการ “เกาะพะงัน เกาะเกษตรอินทรีย์” ให้กับกระทรวงพาณิชย์ (ระยะเวลา 8 เดือน) เพื่อสนับสนุนให้ภาคีภาคส่วนที่เกี่ยว่่ข้อง 5 ภาคส่วน คือ (ก) เกษตรกร (ข) ร้านอาหาร/ร้านกาแฟ-เครื่องดื่ม (ค) โรงแรม (ง) โรงเรียน และ (จ) หน่วยงานราชการในท้องถิ่น ให้ร่วมกันขับเคลื่อนการพัฒนาเกาะพะงันให้เป็นเกาะเกษตรอินทรีย์ - อบรมเพื่อพัฒนาความพร้อมในการจัดตั้งหน่วยตรวจรับรองเกษตรดีที่เหมาะสม ประเทศเมียร์มา
[ที่ปรึกษาด้านเทคนิค] จัดอบรมให้กับเจ้าหน้าที่ของกระทรวงเกษตรและชลประทานและผู้เกี่ยวข้องในประเทศเมียร์มา เพื่อพัฒนาความพร้อมในการจัดตั้งหน่วยตรวจรับรองเกษตรดีที่เหมาะสม ภายใต้โครงการให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคของ United Nations Food and Agriculture Organization (FAO) - สำรวจและประเมินความพร้อมของผู้ประกอบการเกษตรอินทรีย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศลาว
[ที่ปรึกษาด้านเทคนิค] สำรวจและประเมินความพร้อมของผู้ประกอบการเกษตรอินทรีย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศลาว เพื่อเตรียมแผนงานสำหรับโครงการพัฒนาการท่องเที่ยว การเกษตร และขีดความสามารถในการส่งออกแบบยั่งยืนในประเทศลาว ภายใต้การสนับสนุนของ United Nations Conference on Trade and Development (UNCTAD) [ไปดูรายละเอียดเพิ่ม linkl] - การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ: ความเปราะบางและแนวทางการปรับตัวเพื่อรับมือกับภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง
[สื่อสิ่งพิมพ์] แปลและจัดพิมพ์หนังสือ “การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ: ความเปราะบางและแนวทางการปรับตัวเพื่อรับมือกับภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง” (แปลและเรียบเรียงจากหนังสือ Climate Change and Vulnerability และ Climate Change and Adaptation)
ปี พ.ศ. 2553
- ริเริ่มโครงการกาแฟอินทรีย์รักษาป่า จ.เชียงราย
[โครงการพิเศษ] ริเริ่มโครงการกาแฟอินทรีย์รักษาป่า เพื่อส่งเสริมเกษตรกรในเขตพื้นที่สูง ให้ทำเกษตรอินทรีย์ และอนุรักษ์ผืนป่าไปพร้อมกัน โดยเริ่มโครงการในพื้นที่ของ ต.แม่เจดีย์ใหม่ อ.เวียงป่าเป้า และ ต.วาวี อ.แม่สรวย จังหวัดเชียงราย และต่อมาได้ขยายไปอีกหลายหมู่บ้าน รวมทั้งได้ร่วมผลักดันให้มีการจัดตั้งบริษัทกรีนเนท เอส เอ จำกัด เพื่อจัดการตลาดให้กับเกษตรกร - การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียง
[จัดการความรู้] ทำการวิจัยเรื่อง “การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงสําหรับกลุ่มผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์ในการเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหารในประเทศไทย” ร่วมกับศูนย์พัฒนาเกษตรอินทรีย์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช โดยรับทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ - การชดเชยคาร์บอน
[จัดการความรู้] ศึกษา “การชดเชยคาร์บอนสําหรับการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ เพื่อปรับตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ” ให้กับ United Nations Development Programme (UNDP) - ศึกษา “การขยายตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”
[จัดการความรู้] ศึกษา “การขยายตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (กรณีศึกษาในประเทศมาเลเซีย และ สิงคโปร์)” ให้กับ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ - เปรียบเทียบมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ใน 10 ประเทศของเอเชีย
[จัดการความรู้] ศึกษาเปรียบเทียบมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ใน 10 ประเทศของภูมิภาคเอเชียให้กับ Global Organic Market Access (GOMA) [ไปดูรายละเอียดเพิ่ม link] - ศักยภาพของการค้าเพื่อสิ่งแวดล้อมในประเทศลุ่มแม่น้ำโขง
[จัดการความรู้] ศึกษา “ศักยภาพของการค้าเพื่อสิ่งแวดล้อมในประเทศลุ่มแม่น้ำโขง” ให้กับธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย - ประชุมเกษตรอินทรีย์ระดับภูมิภาคเอเชีย
[เครือข่าย] เข้าร่วมการประชุมเกษตรอินทรีย์ระดับภูมิภาค 2010 Asia Organic Conference ที่ประเทศเกาหลี (29 ก.ย. – 4 ต.ค.) - จัดทําข้อมูลข่าวสารสินค้าเกษตรอินทรีย์
[ที่ปรึกษาด้านเทคนิค] โครงการจัดทําข้อมูลข่าวสารสินค้าเกษตรอินทรีย์ ให้กับกระทรวงพาณิชย์ (ระยะเวลา 11 เดือน) ซึ่งกิจกรรมหลักคือ การจัดทําสรุปรายงานข่าวสินค้าเกษตรอินทรีย์เป็นรายปักษ์ (ทุก 15 วัน) โดยมีสาระครอบคลุมด้านการผลิต การตลาด กฎ ระเบียบทางการค้าสินค้าเกษตรอินทรีย์ เพื่อใช้ขึ้นเว็บไซต์ของศูนย์ปฏิบัติการข้อมูลการตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์ (Commerce Intelligence of MoC – CIM) - บ่มเพาะผู้ประกอบการผักและผลไม้เกษตรอินทรีย์ ในประเทศไทย
[ที่ปรึกษาด้านเทคนิค] จัดทำชุดกิจกรรมอบรมและให้คำปรึกษากับผู้ประกอบการผักและผลไม้เกษตรอินทรีย์ในประเทศไทย ภายใต้โครงการบ่มเพาะผู้ประกอบการเกษตรอินทรีย์ ร่วมกับสมาคมการค้าเกษตรอินทรีย์ไทย ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก gtz - วิทยากรการปลูกชาเกษตรอินทรีย์และการตรวจรับรองให้กับศูนย์ภูฟ้าพัฒนา จ.น่าน
[ที่ปรึกษาด้านเทคนิค] วิทยากรการปลูกชาเกษตรอินทรีย์และการตรวจรับรองให้กับศูนย์ภูฟ้าพัฒนา จ.น่าน ภายใต้การสนับสนุนของกระทรวงพาณิชย์ - ฝ้ายเกษตรอินทรีย์และการตรวจรับรองให้กับเกษตรกร จ.อุบลราชธานี
[ที่ปรึกษาด้านเทคนิค] วิทยการการปลูกฝ้ายเกษตรอินทรีย์และการตรวจรับรองให้กับเกษตรกร บ้านดงนา ต.หนามแท่ง อ.ศรีเมืองใหม่ และบ้านปากลา ต.นาโพธิ์กลาง อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี ภายใต้การสนับสนุนของกระทรวงพาณิชย์ - กลุ่มเกษตรกรมะพร้าวและโกโก้ ในภาคใต้ของเวียดนาม
[ที่ปรึกษาด้านเทคนิค] วิเคราะห์และจัดทำข้อเสนอแนวทางการพัฒนาระบบควบคุมภายในสำหรับเกษตรอินทรีย์ให้กับกลุ่มเกษตรกรในภาคใต้ของเวียดนามที่ปลูกมะพร้าวและโกโก้ ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ของหน่วยงานพัฒนา Helvetas Vietnam [ไปดูรายละเอียดเพิ่ม link]
ปี พ.ศ. 2552
- สนับสนุนการปรับตัวเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
[จัดการความรู้] ดำเนินโครงการสนับสนุนการปรับตัวเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ – สสส.) ซึ่งเป็นโครงการ 31 เดือน (พ.ค. 52 – ธ.ค. 54) โดยมีกิจกรรมโครงการนำร่องกับชุมชนและองค์กรท้องถิ่น 10 แห่งทั่วประเทศ
เครือข่าย
- ประชุมเกษตรอินทรีย์ระดับภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้
เข้าร่วมการประชุมเกษตรอินทรีย์ระดับภูมิภาค 2009 East Asia Organic Conference ที่โซล ประเทศเกาหลี (17 – 19 พ.ย. 52)
ที่ปรึกษา
- จัดอบรมในประเทศเมียร์มา ภูฏาน และลาว
จัดอบรมใน 3 ประเทศในภูมิภาคเอเชีย (เมียร์มา ภูฐาน และลาว) ในหัวข้อ “Regulations, standards and certification for agricultural exports” ให้กับ FAO Regional Office for Asia and the Pacific - ศึกษา Eco-trade ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
ทำการศึกษาเกี่ยวกับ eco-trade in Greater Mekong Subregion ให้กับธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (Asian Development Bank) รวมทั้งการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวให้กับ ตัวแทนจากประเทศลุ่มแม่น้ำโขงด้วย - ศึกษาเกษตรอินทรีย์ระดับสากล
จัดทำรายงานการศึกษาเกี่ยวกับ Harmonization และ Equivalence ของเกษตรอินทรีย์ระดับสากล ให้กับสำนักงานมาตรฐานเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) - ที่ปรึกษาเกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเกษตรอินทรีย์ เกหลี
เป็นวิทยากรและที่ปรึกษาให้กับ Korean Federation of Sustainable Agriculture ในการพัฒนาและจัดประชุมเกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเกษตรอินทรีย์ - สรุปข่าวรายปักษ์เกี่ยวกับตลาดและมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ทั่วโลก
จัดทำสรุปข่าวรายปักษ์เกี่ยวกับตลาดและมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ทั่วโลก ให้กับกระทรวงพาณิชย์
สื่อสิ่งพิมพ์
- “ทางเลือกใหม่ของคนชายขอบ“ (แปลจากหนังสือ “Excluidos hoy, Protagonistas manana” เขียนโดยฟรัสซิสโก ฟานเดอร์โฮฟ บุรส์มา และแปลโดยจิตราภรณ์ ตันรัตนกุล)
ปี พ.ศ. 2551
จัดการความรู้
- พัฒนาเกษตรอินทรีย์ เพื่อบรรเทาปัญหาโลกร้อน จังหวัดยโสธร
มูลนิธิฯ ได้เริ่มทำโครงการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ เพื่อบรรเทาปัญหาโลกร้อน จังหวัดยโสธร โดยการสนับสนุนแห่ล่งน้ำขนาดเล็ก ให้กับเกษตรกร เพื่อเป็นการช่วยให้เกิดการปรับตัวของเกษตรกรในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลง ภูมิอากาศ โดยได้รับทุนสนับสนุนจาก OXFAM Great Britain
เครือข่าย
- เมล็ดพันธุ์พื้นบ้าน
จัดประชุมเครือข่ายองค์กรที่ทำงานเกี่ยวกับเมล็ดพันธุ์พื้นบ้าน ที่จังหวัดน่าน และจัดตั้งเป็นเครือข่ายเมล็ดพันธุ์เกษตรอินทรีย์ - เป็นคณะกรรมการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ
มูลนิธิฯ ได้รับเชิญให้เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ เพื่อพัฒนาแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์ของประเทศ รวมทั้งแผนปฏิบัติการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ของหน่วยงานราชการต่างๆ - ร่วมประชุมเกษตรอินทรีย์ระดับเอเชีย
เข้าร่วมการประชุมเกษตรอินทรีย์ระดับภูมิภาค Organic Asia- The Way Forward ที่ซาราวัค ประเทศมาเลเซีย (28 – 31 ต.ค. 51) - ร่วมจัดตั้งเครือข่ายไทยเพอร์มาคัลเจอร์
ที่ปรึกษา
- ศูนย์การเรียนรู้สิ่งแวดล้อม
ดําเนินการศึกษาและพัฒนาแนวทางในการจัดทําศูนย์การเรียนรู้สิ่งแวดล้อม ให้กับบริษัทจัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำตะวันออก จํากัด (มหาชน) หรือ EastWater (กรกฎาคม – ธันวาคม 2551) - ศึกษานวัตกรรมเกษตรอินทรีย์ในไทย
ทำการศึกษา “สถานภาพการวิจัย-นวัตกรรมเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทย” ให้กับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ - ศึกษาสภานภาพเกษตรอินทรีย์ในประเทศลาว
ดำเนินการศึกษาสภานภาพเกษตรอินทรีย์ในประเทศลาว และจัดฝึกอบรมภายใต้โครงการ Support to Trade Promotion and Export Development in Lao PDR ให้กับ International Trade Center (ITC)
ปี พ.ศ. 2550
การจัดการความรู้
- จัดทำเป็นศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ และโรงบรรจุข้าวเกษตรอินทรีย์
มูลนิธิและสหกรณ์ร่วมกันจัดซื้อที่ดินจำนวน 20 ไร่ บริเวณบ้านดอนมะยาง ตำบลแคนน้อย อำเภอคำเขื่อนแก้ว ยโสธร เพื่อจัดทำเป็นศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ และโรงบรรจุข้าวเกษตรอินทรีย์ - วันนี้ กับอนาคตของเกษตรอินทรีย์ไทย
จัดสัมมนาวิชาการเกษตรอินทรีย์ ประจําปี 2550 เรื่อง “วันนี้ กับอนาคตของเกษตรอินทรีย์ไทย” โดยมีผู้เข้าร่วม 120 คน ทั้งจากเกษตรกรกร เจ้าหน้าที่ส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ นักวิชาการ องค์กรพัฒนาเอกชน สื่อมวลชน บริษัทธุรกิจเอกชนและบุคคลทั่วไป (5-6 ก.ย. 50)
ที่ปรึกษา
- มาตรฐานเกษตรอินทรีย์
ดำเนินการพัฒนาระบบควบคุมภายใน สำหรับการตรวจสอบรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ให้กับ PROFIL ประเทศลาว (24-28 ก.ค. 50) - แนวทางในการพัฒนาตลาดเกษตรอินทรีย์ ในประเทศเวียดนาม
ศึกษาและจัดทำข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางในการพัฒนาตลาดเกษตรอินทรีย์ ภายในประเทศเวียดนาม ให้กับ ADDA Vietnam (19 ม.ค., 27-28 ก.ย. 50) - ภาพรวมของเกษตรอินทรีย์ในภูมิภาคเอเชีย
จัดประชุมระดับภูมิภาคเอเชีย เรื่อง “ภาพรวมของเกษตรอินทรีย์ในภูมิภาคเอเชีย” ให้กับ International Trade Center (ITC) ระหว่างช่วงวันที่ 12-14 พ.ย. 50
ปี พ.ศ. 2549
การจัดการความรู้
- ศูนย์เกษตรอินทรีย์ยโสธร
มูลนิธิฯ ได้รับทุนสนับสนุนต่อเนื่องจาก สภาวิจัยแห่งชาติ เพื่อจัดทำโครงการวิจัยแบบบูรณการ “ศูนย์เกษตรอินทรีย์ยโสธร” ซึ่งโครงการวิจัยนี้เสร็จสิ้นเมื่อ 30 กันยายน 2549 - นโยบายสาธารณะเพื่อความปลอดภัยอาหารและเศรษฐกิจการค้าที่ยั่งยืน
โครงการต่อเนื่องของโครงการวิจัย “นโยบายสาธารณะเพื่อความปลอดภัยอาหารและเศรษฐกิจการค้าที่ยั่งยืน” ซึ่งทางคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับทุนสนับสนุนจากมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสย.) และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) - เมธีนวัตกรรม
วิฑูรย์ ปัญญากุล ได้รับคัดเลือกจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้เป็น “เมธีนวัตกรรม” ด้านเกษตรอินทรีย์ ในปี 2549
ที่ปรึกษา
- Organic Agriculture Development, for Grolink, Sweden
โครงการฝึกอบรม “Organic Agriculture Development” 3 เดือน (สิ้นสุด 28 กุมภาพันธ์ 2549) ให้กับ บริษัทที่ปรึกษา Grolink จากประเทศสวีเดน - Development of Organic Certification Model for Lao PDR
โครงการ “Development of Organic Certification Model for Lao PDR“ 1 ปี (สิ้นสุด 31 ตุลาคม 2549) ให้กับหน่วยงาน PROFIL ประเทศลาว - Organic Conversion Pilot Program: Capacity Building for Post-Free Trade Central America
โครงการ “Organic Conversion Pilot Program: Capacity Building for Post-Free Trade Central America” 2 ปี (สิ้นสุด 31 มีนาคม 2550) Inter-American Development Bank - Appraise of certification costs for farmers and farmer’s organizations under different certification schemes
โครงการวิจัย “Appraise of certification costs for farmers and farmer’s organizations under different certification schemes” 3 เดือน (สิ้นสุด 30 มิถุนายน 2549) United Nation’s Food and Agriculture Organization - ปรับปรุงการผลิต การตลาด และสร้างมาตรฐานส้มโอด้วยระบบเกษตรอินทรีย์
โครงการปรับปรุงการผลิต การตลาด และสร้างมาตรฐานส้มโอด้วยระบบเกษตรอินทรีย์ 2 ปี (สิ้นสุด 31 พฤษภาคม 2551) วิสาหกิจชุมชนกสิวัตร, สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ - พัฒนาเกษตรอินทรีย์ Sewalanka ประเทศศรีลังกา
โครงการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ Sewalanka 5 เดือน (สิ้นสุด 31 พฤษภาคม 2550) Sewalanka ประเทศศรีลังกา
ปี พ.ศ. 2548
ประสานเครือข่าย
- พัฒนาการบริหารจัดการห่วงโซ่ข้าวอินทรีย์-แฟร์เทรด
มูลนิธิฯ ได้ริเริ่มโครงการ “Organizing the Organic Fairtrade Rice Chain: Building Grassroots Competency” โดยมีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อพัฒนาศักยภาพและความสามารถขององค์กชุมชน จากภูมิภาคเอเชีย ในการจัดทำโครงการพัฒนาการบริหารจัดการห่วงโซ่ข้าวอินทรีย์-แฟร์เทรด โดยมีกิจกรรมหลักคือ การฝึกอบรมและการให้คำปรึกษากับหน่วยงานเหล่านี้ โครงการนี้เป็นโครงการต่อเนื่อง 2 ปี โดยได้รับทุนสนับสนุนจากองค์กรแหล่งทุน HIVOS ประเทศเนเธอร์แลนด์
การจัดการความรู้
- ศูนย์เกษตรอินทรีย์ยโสธร + ข้าวหอมมะลิเกษตรอินทรีย์
มูลนิธิฯ ได้รับทุนสนับสนุนจาก สภาวิจัยแห่งชาติ เพื่อจัดทำโครงการวิจัยแบบบูรณการ “ศูนย์เกษตรอินทรีย์ยโสธร” เป็นระยะเวลา 1 ปี โดยโครงการนี้มีวัตถุประสงค์หลัก 2 ด้าน คือ (1) เพื่อสรุปสังเคราะห์ และพัฒนาองค์ความรู้ เกี่ยวกับระบบการผลิตข้าวหอมมะลิเกษตรอินทรีย์ อย่างเป็นระบบและครบวงจร และ (2) เพื่อสรุปและสังเคราะห์บทเรียนจากกระบวนการพัฒนา และการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ ของมูลนิธิสายใยแผ่นดิน ที่ตั้งอยู่บนแนวทางการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (participatory learning) โดยโครงการนี้ประกอบด้วยโครงการย่อย 3 โครงการ คือ 1. การส่งเสริมการปลูกข้าวเกษตรอินทรีย์ โดยกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม 2. การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิเกษตรอินทรีย์ และ 3. Rice Chain ข้าวหอมมะลิเกษตรอินทรีย์ - นโยบายสาธารณะเพื่อความปลอดภัยอาหารและเศรษฐกิจการค้าที่ยั่งยืน
โครงการวิจัย “นโยบายสาธารณะเพื่อความปลอดภัยอาหารและเศรษฐกิจการค้าที่ยั่งยืน” ซึ่งทางคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับทุนสนับสนุนจากมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสย.) และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และทางมูลนิธิสายใยแผ่นดินได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของคณะวิจัยโครงการ โดยมีบทบาทรับผิดชอบในการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางด้านเกษตรอินทรีย์ ให้กับชุมชนในพื้นที่เป้าหมายจังหวัดยโสธร และฉะเชิงเทรา เพื่อให้เป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาด้านนโยบาย โดยการขยายการปลูกข้าวหอมมะลิอินทรีย์ และพืช ผัก อินทรีย์ ให้ได้รับการตรวจรับรองมาตรฐานระดับสากล และเชื่อมโยงสู่การส่งออกในพื้นที่เป้าหมาย
ที่ปรึกษา
- พัฒนาศักยภาพการส่งออกเกษตรอินทรีย์ของ ประเทศไทย
เป็นที่ปรึกษาให้กับ “โครงการพัฒนาศักยภาพการส่งออกเกษตรอินทรีย์ของประเทศไทย” ซึ่งเป็นโครงการของศูนย์พาณิชยกรรมระหว่างประเทศ (International Trade Center – ITC) ร่วมกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อพัฒนาความพร้อมของประเทศไทย ในการส่งออกสินค้าเกษตรอินทรีย์ไปจำหน่ายในสหภาพยุโรป โดยทางมูลนิธิฯ ได้รับมอบหมายจากศูนย์พาณิชยกรรมระหว่างประเทศให้จัดกิจกรรมอบรม 2 หลักสูตร คือ (1) หลักสูตรการสนับสนุนส่งเสริมโครงการเกษตรอินทรีย์ โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลักคือหน่วยงานราชการที่ทำงานเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ และ (2) หลักสูตรเทคนิคเกี่ยวกับการตรวจสอบรับรองและรับรองระบบงานเกษตรอินทรีย์ สำหรับเจ้าหน้าที่ของสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.)
โครงการพิเศษเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิ
- ค่ายฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติ พื้นที่ประสบภัยคลื่นสึนามิ ชายฝั่งทะเลอันดามัน ซึ่งทางมูลนิธิฯ ได้ดำเนินการร่วมกับนักศึกษากลุ่มนกเสรี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่ เพื่อสร้าง “ห้องสมุดพลังใจ” ในบริเวณโรงเรียนบ้านทุ่งละออง ต.บางวัน อ.คุระบุรี จ.พังงา ระหว่างวันที่ 14 – 26 มีนาคม 2548 โดยมีอาสาสมัครเข้าร่วมเริ่มต้น 17 คน ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่มูลนิธิฯ จำนวน 4 คน และนักศึกษากลุ่มนกเสรี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวน 13 คน ตลอดจนประชาชนในพื้นที่หลายองค์กร ทั้งผู้ใหญ่บ้าน ครู นักเรียน สมาชิก อบต.
- มูลนิธิฯประสานงานกับ ประชาชนในพื้นที่เขต จ.พังงา คัดเลือกนักเรียนยากจน และได้รับความสูญเสียจากภัยสึนามิ เข้ารับทุนการศึกษา โดยได้มอบทุนการศึกษา ให้กับเด็กนักเรียนไปแล้ว 35 ราย เป็นเงินรวมทั้งสิ้น 245,897 บาท ตลอดจนได้ช่วยเหลือและฟื้นฟูจิตใจอื่นๆ เช่น ซื้อจักรยานพร้อมที่สูบลมยาง ให้นักเรียนที่ขาดแคลนพาหนะในการไปโรงเรียน จำนวนรวม 6 คัน, พานักเรียนหูหมวก 1 คน และเด็กที่มีปัญหาออร์ทีสติค 2 คน ย้ายไปเรียนในโรงเรียนที่เหมาะสม และการหากิจกรรมเสริมพิเศษ ให้นักเรียนโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ในช่วงวันหยุดเรียน เป็นต้น
ปี พ.ศ. 2547
ประสานเครือข่าย
- ฝึกอบรมและดูงานเกี่ยวกับข้าวอินทรีย์-แฟร์เทรด ให้กับกลุ่ม CCRD จากประเทศกัมพูชา
จัดกิจกรรมฝึกอบรมและดูงาน ให้กับกลุ่ม Community Cooperative for Rural Development (CCRD) จากประเทศกัมพูชา เกี่ยวกับการจัดทำโครงการข้าวอินทรีย์-แฟร์เทรดของสหกรณ์ ในช่วงระหว่างวันที่ 24 – 29 กันยายน - มหกรรมเกษตรยั่งยืน
สหกรณ์กรีนเนทและมูลนิธิสายใยแผ่นดินได้ร่วมกับเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก และมูลนิธิเกษตรยั่งยืน และองค์กรอื่นๆ จัดกิจกรรม “มหกรรมเกษตรยั่งยืน” ในระหว่างวันที่ 18 – 21 พฤศจิกายน ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพ เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการเกษตรที่ยั่งยืน รวมทั้งเป็นการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้กับสังคมได้รับทราบเรื่องราวเกี่ยวกับ เกษตรยั่งยืน
ที่ปรึกษา
- รับรองระบบงานเกษตรอินทรีย์
ทางมูลนิธิสายใยแผ่นดินได้รับมอบหมายจากสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ให้จัดทำโครงการให้คำปรึกษา เพื่อพัฒนาความพร้อมในการรับรองระบบงานเกษตรอินทรีย์ (organic accreditation) ให้กับ มกอช. โดยการจัดทำโครงการนี้ ทางมูลนิธิฯ ได้ดำเนินการร่วมกับบริษัทที่ปรึกษาจากสวีเดน Grolink โดยโครงการที่ปรึกษานี้ประกอบด้วยกิจกรรมหลักที่สำคัญ คือ การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ การสัมมนาอบรม การพัฒนาระบบเอกสารในการดำเนินงาน เป็นต้น
ปี พ.ศ. 2546
ผู้บริโภค : จัดทัวร์เยี่ยมผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์
- จัดทัวร์นิเวศสัญจรไปเยี่ยมผู้ผลิตผักเกษตรอินทรีย์ ที่จังหวัดสุพรรณบุรี
- จัดทัวร์นิเวศสัญจรไปเยี่ยมผู้ผลิตข้าวเกษตรอินทรีย์ ที่จังหวัดยโสธร
เครือข่าย : เจ้าภาพในการจัดประชุมเกษตรอินทรีย์นานาชาติ
- เป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมเกษตรอินทรีย์นานาชาติ ร่วมกับองค์กับองค์กรระหว่างประเทศหลายหน่วยงาน ในระหว่างวันที่ 2-9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 โดยมีผู้เข้าร่วมกว่า 200 คน จาก 36 ประเทศทั่วโลก ประกอบด้วย %