More People, More Food, Worse Water? : A Global Review of Water Pollution from Agriculture
สำนักพิมพ์ : Food and Agriculture Organization of the United Nations and International Water Management Institute
วันที่พิมพ์ : 2018
Summary :
เมื่อเปรียบเทียบกันระหว่างภาคเมือง อุตสาหกรรม และการเกษตร ภาคเกษตรเป็นแหล่งใหญ่สุดที่ผู้สร้าง/ปล่อยมลพิษทางน้ำ ในแต่ละปีมีการใช้น้ำจืดราว 3,928 ลูกบาศก์กิโลเมตร (3,928 ล้านล้านลิตร) แต่น้ำประมาณ 44% ระเหยหรือสูญหายไปในระบบชลประทาน ที่เหลือ 2,212 ลูกบาศก์กิโลเมตรเท่านั้นที่มีการใช้และถูกปล่อยเป็นน้ำเสีย (ที่มีปัญหามลพิษ) โดยภาคเมืองปล่อยน้ำเสียราาว 330 ลูกบาศก์กิโลเมตร ภาคอุตสาหกรรมปล่อย 660 ลูกบาศก์กิโลเมตร ส่วนภาคเกษตรปล่อยน้ำเสียสูงคือ 1,260 ลูกบาศก์กิโลเมตร (32%)
น้ำเสียจากภาคเกษตรมีหลายสาเหตุ คือ
(ก) การใช้ปุ๋ย (ทั้งปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์) ที่มีการใช้โดยไม่ระมัดระวัง ทำให้มีธาตุอาหารส่วนเกิน ที่ถูกชะล้างเข้าสู่ระบบน้ำผิวดินและใต้ดิน โดยเฉพาะไนโตรเจนและฟอสเฟต จากการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์
(ข) การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช โดยเฉพาะสารเคมีที่มีการสลายตัวช้า ซึ่งจะพบตกค้างในระบบนิเวศเป็นเวลานาน รวมทั้งระบบนิเวศน้ำจืด
(ค) เกลือ ที่ทำให้เกิดดินเค็มและน้ำเค็ม จากเกลือที่สะสมอยู่ใต้ดิน ซึ่งการจัดการระบบชลประทานที่ไม่ดีเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดปัญหาดิน/น้ำเค็มนี้
(ง) ตะกอนดิน ที่สะสมในแหล่งน้ำ ทำให้เกิดปัญหาผลกระทบต่อคุณภาพน้ำผิวดิน รวมไปถึงน้ำท่วมและมลพิษอื่นๆ
(จ) การปนเปื้อนสารอินทรีย์และจุลินทรีย์ ซึ่งมีความเสี่ยงในเรื่องของสุขภาพ (ทั้งต่อพืช สัตว์ และมนุษย์เองด้วย)
ดาวน์โหลดหนังสือได้จา [link]
รหัสหนังสือ:
978-92-5-130729-8
ประเภทหนังสือ : หนังสือ
จำนวนหน้า : 207
หมวด : เกษตรทั่วไป