การผลักดันยุทธศาสาตร์สินค้าเกษตรอินทรีย์
สำนักพิมพ์ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
วันที่พิมพ์ : 02-Mar-2007
Summary :
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้ว่าจ้างให้บริษัทอินโฟไมนิ่งจำกัด จัดทำร่างแผนติดตามและผลักดันยุทธศาสตร์การพัฒนาสินค้าเกษตรอินทรีย์ โดยในแผนดังกล่าวได้เสนอวิสัยทัศน์เกษตรอินทรีย์ของประเทศว่า “มุ่งพัฒนาสู่การบูรณาการทุกมิติและภาคส่วน ร่วมทำเกษตรอินทรีย์ มีดีต้องแพร่ขยาย ครัวไทยได้บริโภค สู่ครัวโลกอย่างยั่งยืน” โดยมียุทธศาสตร์สำคัญ 4 ด้าน และแนวทางในการพัฒนาในแต่ละยุทธศาสตร์ดังนี้ 1. ยุทธศาสตร์การประชาสัมพันธ์และการสร้างองค์ความรู้เพื่อขยายผลการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ 1.1 การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ – การประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจกับทุกภาคส่วน – การอบรมเจ้าหน้าที่ภาครัฐทุกระดับ ให้มีความรู้ความเข้าใจ และสามารถทำงานและแลกเปลี่ยนความรู้กับภาคีอื่น – การสนับสนุนการเรียนการสอนทั้งในระบบและนอกระบบ 1.2 การจัดการองค์ความรู้และสร้างภูมิคุ้มกัน – ส่งเสริมการทำวิจัยและพัฒนาสินค้าเกษตรอินทรีย์ – ประยุกต์ใช้องค์ความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น 1.3 การทำฐานข้อมูลในทุกระดับ 2. ยุทธศาสตร์การสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงเพื่อการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ 2.1 สร้างเครือข่ายเกษตรกรและสาบันเกษตรกร เพื่อเชื่อมโยงการสร้างมูลค่าสินค้าเกษตรอินทรีย์ตลอดห่วงโซ่การผลิต 2.2 ส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายความช่วยเหลือเชื่อมโยงและการเรียนรู้ระหว่างองค์กรที่ประสบความสำเร็จกับองค์กรขนาดเล็ก 2.3 สสนับสนุนให้ท้องถิ่น ชุมชน มีการรวมกลุ่มในรูปสหกรณ์ กลุ่มอาชีพต่างๆ โดยร่วมมือกับภาคเอกชนในการผลิตและการค้า 3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านตลาดและมาตรฐาน 3.1 จัดระบบการรับรองมาตรฐานในประเทศ 3.2 พัฒนาระบบการตรวจสอบรับรองของไทยให้เป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ 3.3 เสริมสร้างและบูรณาการภาครัฐในการสร้างช่องทางตลาด 3.4 ส่งเสริมการบริโภคสนค้าเกษตรอินทรีย์ในทุกระดับ 3.5 พัฒนาระบบตลาดโดยการสร้างช่องทางใหม่ๆ ในการจำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ 3.6 สร้างความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับต่างประเทศในด้านมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ 3.7 พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ 4. ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการและพัฒนาเกษตรอินทรีย์ 4.1 กำหนดกลไกเพื่อกำกับดูแล และพัฒนาเกษตรอินทรีย์อย่างเป็นระบบ – สนับสนุนการตั้งคณะกรรมการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ระดับชาติ – พัฒนาองค์กรหลักในการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ ในลักษณะขององค์กรอิสระ 4.2 ปรับกระบวนการทำงานของภาครัฐ มาเป็นผู้สนับสนุนการดำเนินการของภาคประชาชน พร้อมกันนี้ ในร่างแผนฯ ดังกล่าวได้เสนอให้หน่วยงานภาครัฐ 12 กระทรวง มีการจัดทำแผนปฏิบัติงานในลักษณะที่เป็นบูรณาการร่วมกัน และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นหน่วยงานหลักในการประสานงานหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน
รหัสหนังสือ : B0171
ปี : 2550
จำนวนหน้า : 37
หมวด : ชั้น 1