สรุปข่าวเด่นปี 2554 เกี่ยวกับมาตรฐานและกฎระเบียบเกษตรอินทรีย์
ในปี พ.ศ. 2554 ที่ผ่านมา มีข่าวเกี่ยวกับมาตรฐานและกฎระเบียบเกษตรอินทรีย์ที่สำคัญหลายเรื่อง ซึ่งข่าวเด่นๆ ได้แก่

IFOAM

  • IFOAM เปิดตัว IFOAM Family of Standards ซึ่งเป็นกรอบที่ IFOAM จะใช้ในการประเมินมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของรัฐบาลในประเทศต่างๆ ทั่วโลก รวมทั้งมาตรฐานของหน่วยตรวจรับรองเอกชน ที่ IFOAM ว่าทัดเทียมกับเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำของ IFOAM [มกราคม]
  • IFOAM อนุมัติระบบการรับรองระบบงานใหม่เรียกว่า Global Organic System Accreditation (GOSA) สำหรับหน่วยรับรองเกษตรอินทรีย์ ที่ใช้มาตรฐาน IFOAM Family of Standards ซึ่งผู้ผลิตและผู้ประกอบการที่ได้รับการตรวจรับรองในระบบนี้มีสิทธิที่จะใช้โลโก้เกษตรอินทรีย์กลางของ IFOAM (IFOAM Global Organic Mark) [มกราคม]
  • IFOAM เปิดตัวโลโก้เกษตรอินทรีย์กลางของ IFOAM (IFOAM Global Organic Mark) [กุมภาพันธ์]
  • IFOAM และคณะกรรมการอำนวยการของ Global Organic Market Access (GOMA) ได้มีมติร่วมกันในการยอมรับ “เกณฑ์ข้อกำหนดกลางและวัตถุประสงค์ของมาตรฐานเกษตรอินทรีย์” (Common Objectives and Requirements of Organic Standards – COROS) [มิถุนายน]
  • IFOAM ปรับปรุงเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำใหม่ โดยเปลี่ยนเนื้อหาของมาตรฐานให้เป็นมาตรฐานที่หน่วยรับรองสามารถนำไปใช้ในการตรวจและรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ได้ และได้เปลี่ยนชื่อเรียกใหม่ จาก IFOAM Basic Standards เป็น IFOAM Standards ซึ่งร่างมาตรฐาน IFOAM ใหม่นี้ได้ผ่านกระบวนการปรึกษาหารือกับสมาชิกและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และได้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกลางของ IFOAM (IFOAM World Board) [พฤศจิกายน]

สหภาพยุโรป

  • สหภาพยุโรปและแคนาดาตกลงที่ยอมรับมาตรฐานและการตรวจรับรองเกษตรอินทรีย์ของอีกฝ่ายหนึ่ง [มิถุนายน]
  • สหภาพยุโรปออกระเบียบปฏิบัติ (Commission Implementation Regulation) 1267/2011 ซึ่งเปิดเผยชื่อหน่วยรับรองเกษตรอินทรีย์ 30 หน่วยงานทั่วโลก ที่ผ่านการขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยรับรองที่ตรวจรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ที่ทัดเทียมกับข้อกำหนดการนำเข้าสินค้าเกษตรอินทรีย์ของสหภาพยุโรป [ธันวาคม]

สหรัฐอเมริกา

  • คณะกรรมการมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ (National Organic Standards Board – NOSB) มีมติให้ยกเลิกการอนุญาตให้ใช้ปุ๋ยโซเดียมไนเตรท (ชิเลี่ยนไนเตรท) เป็นปัจจัยการผลิตในระบบเกษตรอินทรีย์ เพราะเป็นเงื่อนไขสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้การเจรจาระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปในการยอมรับระบบมาตรฐานและการตรวจรับรองเกษตรอินทรีย์ของอีกฝ่ายหนึ่ง [เมษายน]
  • แผนงานเกษตรอินทรีย์ (National Organic Program – NOP) กระทรวงเกษตรของสหรัฐ ออกนโยบายใหม่ ยอมรับมาตรฐานและการตรวจรับรองเกษตรอินทรีย์ผลิตภัณฑ์สิ่งทอของ Global Organic Textile Standard (GOTS) ให้สามารถใช้ตรารับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของ NOP ได้ [พฤษภาคม]
  • NOP ออกข้อกำหนดเพิ่มเติมให้หน่วยรับรองต้องสุ่มผู้ผลิตและผู้ประกอบการเกษตรอินทรีย์ไม่น้อยกว่า 5% เพื่อตรวจหาสารเคมีตกค้าง [มิถุนายน]

อื่นๆ

  • รัฐบาลบราซิลเริ่มบังคับใช้ข้อกำหนดให้สินค้าเกษตรอินทรีย์ที่นำเข้าไปขายในประเทศต้องได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ตามกฎระเบียบของประเทศบราซิล [มกราคม]
  • รัฐบาลเกาหลีประกาศเลื่อนการบังคับใช้ข้อกำหนดเกี่ยวกับการนำเข้าสินค้าเกษตรอินทรีย์ ที่บังคับให้หน่วยรับรองจะต้องขอขึ้นทะเบียนกับ 2 หน่วยงาน (สำหรับการตรวจรับรองวัตถุดิบและการแปรรูป) ไปอีก จนถึง 31 ธันวาคม 2555 [มกราคม]
  • หน่วยงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในยุโรปร่วมกันจัดทำมาตรฐานกลางของภาคเอกชนสำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางออร์แกนิค เรียกว่า COSMOS [กุมภาพันธ์]
  • หน่วยงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในยุโรปและสหรัฐอเมริการ่วมกันจัดทำมาตรฐานออร์แกนิคสำหรับผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกาย เรียกว่า NATRUE [มีนาคม]
  • รัฐบาลจีนขึ้นทะเบียนหน่วยรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในประเทศ 26 หน่วยงาน [เมษายน]
  • รัฐสภายูเครนผ่านกฎหมายเกษตรอินทรีย์ แต่ประธานาธิบดีกลับใช้สิทธิวีโต้กฎหมายดังกล่าว ทำให้กฎหมายนี้ตกไป [เมษายน]

สรุปจากนิตยสาร The Organic Standards ฉบับ 130 February 2012