กรีนเนทเข้าร่วมเป็นสมาชิก Textile Exchange เครือข่ายระดับโลกด้านเส้นใยที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

Textile Exchange (TE) เป็นเครือข่ายความร่วมมือที่ไม่แสวงกำไร ของหน่วยงานที่ทำธุรกิจด้านเส้นใย ที่มีเป้าหมายหลักในการสร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมตลอดห่วงโซ่ซัพพลาย โดยวิสัยทัศน์หลักในปัจจุบัน คือ การแก้ปัญหาเรื่องโลกร้อน โดยมีเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 45% ภายในปี 2573 รวมทั้งลดผลกระทบต่อดิน น้ำ และความหลากหลายทางชีวภาพ

ก่อตั้งในปี 2545 ในชื่อ Organic Exchange แต่ต่อมาในปี 2553 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น Textile Exchange ปัจจุบันมีสมาชิกกว่า 575 หน่วยงาน ใน 44 ประเทศ ทั้งผู้ผลิตเส้นใย (ฝ้าย กัญชง ขนสัตว์ หนังสัตว์ ไปจนถึงเส้นใยสังเคราะห์จากกระบวนการรีไซเคิ้ล) บนจนถึงธุรกิจเส้นด้ายและสิ่งทอ รวมทั้งเจ้าของแบรนด์สินค้าเสื้อผ้าและผลิตภัณฑ์สิ่งทอดังระดับโลก [ไปดูรายชื่อสมาชิกได้ที่ link]

กรีนเนทได้เริ่มติดต่อประสานงานกับ TE มาตั้งแต่ปี 2560 เพื่อจัดทำข้อมูลการผลิตฝ้ายเกษตรอินทรีย์ในประเทศไทย เพราะในประเทศไทย โครงการฝ้ายริมโขงของกรีนเนทเป็นผู้ผลิตฝ้ายเพียงรายเดียว ซึ่งข้อมูลนี้ จะเผยแพร่ในรายงานประจำปีตลาดฝ้ายออร์แกนิค (Organic Cotton Market Report) [ดาวน์โหลดรายงานปี 2021 ได้ที่ link]

จนในปี 2564 นี้ ทาง TE จึงได้เชิญกรีนเนทให้เข้าเป็นสมาชิกประเภท “เพื่อน” เนื่องจากงานที่กรีนเนทช่วยสนับสนุนเครือข่าย

หนึ่งในเรื่องที่ TE ทำได้น่าสนใจคือ การเปรียบเทียบนโยบายและการดำเนินงานของบริษัทและแบรนด์ต่างๆ พูดง่ายๆ ว่า ผู้บริโภคสามารถเลือกเปรียบเทียบว่า แบรนด์สินค้าไหนที่มีนโยบายและการปฏิบัติที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม [ไปดูได้ที่ link]  ดูตัวอย่างและคำอธิบายข้างล่าง

 

ในภาพขวามือแสดงเปรียบเทียบแบรนด์สินค้ากีฬา
* MCI: Material Change Index คือ คะแนนรวมของดัชนีของแผน นโยบาย และการปฏิบัติโดยรวมขององค์กรในการเลือกใช้เส้นใยตามเกณฑ์ของ TE
* Strategy ความก้าวหน้าทางด้านยุทธศาสตร์ขององค์กร
* Circularity ความก้าวหน้าทางด้านยุทธศาสตร์การหมุนเวียนเส้นใน
* SDGs ความก้าวหน้าของการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
* Cotton ความก้าวหน้าในการใช้วัสดุฝ้าย ซึ่งไม่ใช่แค่ด้านเกษตรอินทรีย์ แต่รวมด้านสังคม (เช่น แฟร์เทรด) และสิ่งแวดล้อมอื่นๆ อีกด้วย
ฯลฯ