เขียนเมื่อ 15 ธันวาคม 2555
มูลนิธิชีววิถี
2555
เนื้อหาของหนังสือเป็นงานสังเคราะห์ข้อมูลการศึกษาตัวชี้วัดความมั่นคงทางอาหารในระดับชุมชน ของกรณีศึกษา 11 กรณีในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2553 – กรกฎาคม 2554 โดยทำการศึกษาใน 26 ชุมชนของ อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน, อ.ชุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน, อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน, อ.สบเมย จ.แม่่ฮ่องสอน, จ.เชียงใหม่-เชียงราย, อ.ปัว จ.น่าน, อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี, อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม, 10 อำเภอ 6 จังหวัดในภาคอีสาน (ขอนแก่น, เลย, มหาสารคาม, ร้อยเอ็ด, ยโสธร, สุรินทร์), อ.คลองท่อม จ.กระบี่, และชุมชนประมงพื้นบ้าน ใน 3 อำเภอ 3 จังหวัดภาคใต้ (กระบี่ นครศรีธรรมราช, ตรัง)
ผลการสังเคราะห์ข้อมูลได้นำเสนอตัวชี้วัด 8 กลุ่ม 37 ตัวชี้วัด คือ
- การพึ่งพาตนเองด้านอาหาร (6 ตัวชี้วัด)
- สิทธิในฐานทรัพยากรธรรมชาติ ชายฝั่ง และทะเล (8 ตัวชี้วัด)
- สิทธิในฐานทรัพยากรการผลิต (3 ตัวชี้วัด)
- ความมั่นคงทางอาหารในมิติทางเศรษฐกิจและสิทธิในระบบอาหาร (7 ตัวชี้วัด)
- การเข้าถึงอาหารที่มีคุณภาพ (4 ตัวชี้วัด)
- มิติทางวัฒนธรรมและการพัฒนา (4 ตัวชี้วัด)
- ความเสี่ยง ความเปราะบาง และศักยภาพของครัวเรือนและชุมชน (3 ตัวชี้วัด)
- ศักยภาพของครัวเรือนและชุมชน (2 ตัวชี้วัด)
978-974-365-242-4
192
ความมั่นคงด้านอาหาร