ลักษณะพื้นที่การเกษตรเป็นเกษตรน้ำฝน แต่มีระบบชลประทานพื้นบ้านของภาคเหนือ “เหมืองฝาย” จึงทำให้สามารถปลูกพืชได้เกือบตลอดทั้งปี ในช่วงเริ่มโครงการ เกษตรกรปลูกข้าวและถั่วเหลืองเป็นพืชหลังนา แต่ปัจจุบัน เกษตรกรไม่นิยมปลูกถั่วเหลืองอีกต่อไป แต่จะปลูกข้าว 2 รุ่นแทน
เกษตรกรอยู่ในเขตที่มีคนจากภายนอกเข้าไปซื้อที่ดิน (เพื่อการเกษตรและท่องเที่ยว) ค่อนข้างมาก เกษตรกรจำนวนมากได้ขายพื้นที่ของตัวเองแล้ว และใช้วิธีเช่าที่ดิน ซึ่งเจ้าของที่ดินให้เช่าปีต่อปี จึงทำให้มีความมั่นคงในการทำเกษตรต่ำ และเจ้าของที่ดินอาจไม่อนุญาตให้ทำเกษตรอินทรีย์ในบางแปลงด้วย
ที่ตั้ง : มี 2 พื้นที่หลัก คือ (1) ต.เขื่อนผาก อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองเชียงใหม่ ราว 115 กิโลเมตร และ (2) อ.เมือง จ.ลำพูน
กรีนเนทเริ่มทำงานกับกลุ่ม : มกราคม 51 (อ. พร้าว) และ พฤศจิกายน 63 (ลำพูน)
สถานะ : ไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล
ประวัติ : มูลนิธิสายใยแผ่นดินเริ่มทำโครงการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ในพื้นที่นี้ตั้งแต่ปี 2551 โดยทำงานร่วมกันกับมูลนิธิศึกษาพัฒนาชนบท เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ผลิตข้าวและมีการปลูกถั่วเหลืองหลังนา โดยในระยะแรก กลุ่มได้รวมกันภายใต้ชื่อ “เครือข่ายวิถีชีวิตเกษตรกรรมยั่งยืน” ภายใต้การสนับสนุนของกรีนเนท กลุ่มได้เริ่มขอการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ในปี 2553
ปี 2556 ได้เปลี่ยนชื่อกลุ่มเป็น “กลุ่มเกษตรอินทรีย์ป้าว”
ปี 2553 ขยายพื้นที่ทำงานไปยัง อ.เมือง ลำพูน
ปี 2565 เปลี่ยนชื่อกลุ่มเป็น “กลุ่มเกษตรอินทรีย์ภาคเหนือ”
กิจกรรม : ผลิตและรวบรวมข้าวเปลือกจากเกษตรกรสมาชิก ไม่มีการสีข้าว
แรงงาน : ใช้แรงงานในครอบครัวเป็นหลัก อาจมีการแลกเปลี่ยนแรงงานกับเพื่อนบ้านบ้างถ้าจำเป็น
รับรองมาตรฐาน : เกษตรอินทรีย์กับ มกท. (ตั้งแต่ปี 2553)
รางวัล : ไม่มี
โครงการสนับสนุนจากกรีนเนท :
* 2557/58 โครงการส่งเสริมการปลูกถั่วเหลืองเกษตรอินทรีย์