Research Agenda for Organic Agriculture 2013 – Research challenges and knowledge requirements for organic food and farming
ผู้แต่ง : Maria Wivstad (editor)
สำนักพิมพ์ : Centre for Organic Food and Farming, Swedish University of Agricultural Sciences
วันที่พิมพ์ : 2013
Summary :
เป็นงานวิจัยจากการระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเกษตรอินทรีย์ของสวีเดน เพื่อกำหนดกรอบในการพัฒนางานวิจัยสำหรับการสนับสนุนการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ในสวีเดน  โดยกรอบกรอบหลักของการวิจัย 3 ด้านคือ ระบบที่มีความยืดหยุ่นทนทาน, เพิ่มมูลค่าให้กับสิ่งแวดล้อมและสังคม, และชุมชนท้องถิ่นที่เข้มแข็งและแข่งขันได้
(ก) ระบบที่มีความยืดหยุ่นทนทาน (robust systems)

ลดความเปราะบางเพื่อให้มีความยืดหยุ่นทางด้านชีววิทยา เศรษฐกิจและสังคม ทั้งในระดับของการผลิตในฟาร์ม (ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ) รวมถึงธุรกิจการจัดการผลผลิตและการแปรรูปที่ต้องมีความยืดหยุ่นต่อสภาพอากาศ, ตลาด, มาตรการทางการเมือง ที่อาจส่งผล กระทบ ซึ่งการสร้างความหลากหลายและความสามารถในการปรับตัวจะเป็นหัวใจสำคัญของการสร้างความยืดหยุ่นทนทานนี้

(ข) เพิ่มมูลค่าให้กับสิ่งแวดล้อมและสังคม (added value for the environment and society)
เกษตรอินทรีย์มีวิสัยทัศน์ของการทำการเกษตรที่ช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับสิ่งแวดล้อม สิ่งมีชีวิตอื่นๆ และมนุษย์  งานวิจัยควรช่วยประเมินบทบาทของเกษตรอินทรีย์ที่มีต่อการช่วยเพิ่มมูลค่าดังกล่าว และความยั่งยืนของมูลค่าที่เพิ่มขึ้นนี้ว่า มีระยะเวลาสั้น/นานเพียงใด  การวิเคราะห์ระบบเกษตรอินทรีย์ ที่มองความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงกัน เป็นแนวทางสำคัญของการประเมินมูลค่าเพิ่มดังกล่าว

(ค) ชุมชนท้องถิ่นที่เข้มแข็งและแข่งขันได้ (competitiveness and thriving rural communities)
สิ่งท้าทายสำคัญของเกษตรอินทรีย์ก็คือ การเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน โดยการเพิ่มการทำกำไร, เพิ่มปริมาณการผลิต, และขยายชนิดของผลผลิตให้เพิ่มขึ้น  เราจำเป็นต้องมีความรู้เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับผลกระทบของมาตรการทางนโยบายต่างๆ เช่น การจ่ายเงินชดเชยสำหรับสิ่งแวดล้อมให้กับเกษตรกร  นอกจากนี้ ความรู้เกี่ยวกับการแปรรูปผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ และการตลาดก็เป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้ชุมชนชนบทให้มีความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ

และ 5 จุดเน้น คือ (1) ผลิตภาพที่สูงแต่ต้องมีความยั่งยืนในการผลิต, (2) ระบบการผลิตที่มีความเป็นนวัตกรรม และที่มีบทบาทหน้าที่หลายด้านพร้อมกัน, (3) วงจรธาตุอาหารที่หมุนเวียนภายในฟาร์ม และการใช้ทรัพยากรที่หมุนเวียนได้, (4) กิจการที่มีความยั่งยืนและการพัฒนตลาด, และ (5) อาหารที่ดีต่อสุขภาพและมีมูลค่าเพิ่ม

(1) ผลิตภาพที่สูงแต่ต้องมีความยั่งยืนในการผลิต

  • แนวทางการปลูกพืชร่วม หรือการปลูกพืชต่างพันธุ์ร่วมกัน ที่มีความเกื้อกูลกันในฟาร์ม
  • การพัฒนาเครื่องจักรและเทคโนโลยที่เพิ่มประสิทธิผลและควาแม่นยำในการควบคุมกำจัดวัชพืช
  • ประโยชน์ของการเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพในฟาร์ม ที่ช่วยในการป้องกันศัตรูพืช
  • ยุทธศาสตร์การผลิตที่เพิ่มความยั่งยืนในการจัดหาธาตุอาหารให้กับพืช โดยมีเป้าหมายในการสนับสนุนกระบวนการทางชีวภาพในการปลูกพืชหมุนเวียนและโดยการใช้ประโยชน์จากอินทรียวัตถุต่างๆ
  • พืชตรกูลถั่วที่มีความทนทาน และที่มีโปรตีนสูงสำหรับใช้เป็นอาหารสัตว์

(2) ระบบการผลิตที่มีความเป็นนวัตกรรม และที่มีบทบาทหน้าที่หลายด้านพร้อมกัน

  • การออกแบบระบบที่มีความหลากหลายและสามารถทำหน้าที่ได้หลากหลาย รวมทั้งโมเดลการปลูกพืชร่วมแบบใหม่
  • ระบบการปลูกพืชแบบใหม่ ที่ไม่จำเป็นต้องมีการเลี้ยงสัตว์ในฟาร์ม เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากลดโลกร้อน
  • ระบบการเลี้ยงสัตว์ที่ช่วยในการเก็บกักคาร์บอน ใช้รทรัพยากรอย่างมีประสิทธิผล ในขณะเดียวกันต้องให้ความสำคัญกับคุณภาพของผลผลิต, สวัสดิการของสัตว์, และความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจ
  • ออกแบบระบบปลูกพืชที่เพิ่มปฏิสัมพันธ์ทางชีววิทยา ซึ่งช่วยลดการแพร่ระบาดของโรคและแมลง รวมทั้งส่งเสริมศัตรูตามธรรมชาติ
  • การประเมินผลกระทบระยะยาวของระบบการผลิตเกษตรอินทรีย์แบบต่างๆ ที่มีต่อความหลากหลายทางชีวภาพและการให้บริการด้านนิเวศ

(3) วงจรธาตุอาหารที่หมุนเวียนภายในฟาร์ม และการใช้ทรัพยากรที่หมุนเวียนได้

  • เทคโนโลยีและการจัดการโลจีสติคในการให้อาหารกับสัตว์เลี้ยง และการจัดการมูลสัตว์ในฟาร์ม
  • ระบบการผลิตแบบใหม่ และเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ผสมผสานการผลิตอาหารและพืชพลังงาน หรือการวิเคราะห์การใช้ทรัพยากรเพื่อการผลิตแบบต่างๆ
  • วิธีการที่ช่วยลดของเสียจากฟาร์ม เช่น การใช้เป็นอาหารสัตว์ และวัตถุดิบสำหรับการผลิตพลังงาน
  • การใช้ปัจจัยการผลิตสำหรับคนเมืองที่ต้องการทำเกษตรในบ้าน

(4) กิจการที่มีความยั่งยืนและการพัฒนตลาด

  • อุปสรรคและโอกาสทางธุรกิจสำหรับการผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์ออร์แกนิค
  • การวิเคราะห์ความเสี่ยงทางเศรษฐกิจสำหรับระบบการผลิตแบบต่างๆ
  • การจัดการทรัพยากรในตลอดห่วงโซ่อาหาร
  • การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องในการแปรรูปอาหารสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และการขยายการผลิต
  • ผลกระบทของระบบการตรวจรับรองมารตรฐาแบบต่างๆ ต่อการพัฒนาตลาดและความต้องการของผู้บริโภค

(5) อาหารที่ดีต่อสุขภาพและมีมูลค่าเพิ่ม

  • คุณภาพและองค์ประกอบของอาหารออร์แกนิคได้รับผลกระทบจากสภาพการปลูก วิธีการปลูก หรือระบบการปลูกหรือไม่ อย่างไร
  • กลไกที่มีผลต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์ในตลอดห่วงโซ่
  • ความปลอดภัยของอาหารและการตรวจสอบย้อนกลับตลอดห่วงโซ่
  • ผลต่อสุขภาพของผู้บริโภคของอาหารออร์แกนิคและอาหารทั่วไป
  • ทำความเข้าใจกับพฤติกรรมผู้บริโภค
  • การเผยแพร่ความรู้ให้กับผู้บริโภค
  • การสื่อสารทางการตลาดแบบใหม่ๆ

 

ดาวน์โหลดหนังสือนี้ได้จากี่เว็บไซต์ของ Centre for Organic Food and Farming (EPOK) [ลิงค์]

รหัสหนังสือ : 978-91-576-9119-4
จำนวนหน้า : 16
หมวด : เกษตรอินทรีย์ นโยบาย