พื้นที่วิถีชีวิตยั่งยืน แม่ทา / Mae Tha Sustianble Living Space

ระยะเวลา

เริ่ม: พฤศจิกายน 61

สิ้นสุด: ดำเนินการอยู่

 

ความท้าทาย

  • ที่ดินการเกษตรในชุมชน (แม่ทา) กำลังเปลี่ยนกรรมสิทธิ์การถือครอง เนื่องจากปัญหาหนี้สินของเกษตรกร ทำให้ต้องขายที่ดิน
  • ผู้ซื้อที่ดินจำนวนหนึ่งเป็นคนภายนอกชุมชน ทำให้ที่ดินเหล่าที่ถูกขายนั้นอาจเปลี่ยนสภาพจากพื้นที่การเกษตรเป็นการใช้ประโยชน์อื่น (เช่น บ้านพักวันหยุดของคนเมือง, รีสอร์ท, โรงงาน) ซึ่งทำให้พื้นที่ในการผลิตอาหารลดลง
  • คนรุ่นใหม่ในชุมชน ที่สนใจที่จะทำการเกษตร (โดยเฉพาะเกษตรอินทรีย์) แต่ไม่มีที่ดินที่เป็นของตัวเอง หรือมีแต่ไม่เพียงพอ
  • มีคนจากภายนอก (ทั้งเกษตรกร และคนเมือง) ที่สนใจมาศึกษาเรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์และวิถีชีวิตแบบยั่งยืนของเกษตรกรอินทรีย์รุ่นใหม่ของแม่ทา แต่พื้นที่สำหรับดูงานกระจัดกระจาย

 

แนวคิดหลักในการใช้พื้นที่ดิน

ทางมูลนิธิสายใยแผ่นดิน กับกลุ่มเกษตรกรคนรุ่นใหม่ ที่รวมกันเป็นวิสาหกิจชุมชนแม่ทาออร์แกนิค จึงได้ริเริ่มทำโครงการนวัตกรรมทางสังคม เพื่อพัฒนานพื้นที่เกือบ 9 ไร่ครึ่ง ที่บ้านป่าน๊อต หมู่ 5 ต.แม่ทา อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่ โดยมีแนวคิด 3 เรื่องที่คาดหวังจะได้นำแนวคิดมาทดลองปฏิบัติ คือ

ศูนย์เรียนรู้เกษตรแบบมีชีวิต Organic Living Land
มีการทำกิจกรรมการเกษตรหลากหลายอย่าง เช่น ข้าว ผัก ไม้ผล เมล็ดพันธุ์ ไก่ ปลา ที่ผสมผสานและเชื่อมโยงกัน ซึ่ง เกษตรกรและผู้สนใจสามารถเข้ามาดูงานแบบวันเดียว หรือสามารถมาฝึกงาน (หลักสูตร 3 – 6 เดือน) สำหรับเกษตรกรที่มาฝึกงาน (หลังผ่านการคัดเลือก) จะมีที่พัก อาหาร และค่าตอบแทนให้ โดยหลักสูตรพื้นฐานจะใช้เวลา 3 – 6 เดือน โดยทำงานเสมือนประหนึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของฟาร์ม ผลผลิตอาหารออร์แกนิคนี้จะจำหน่าย (ผ่านตลาดนัดเกษตรกรและขายส่ง) ซึ่งรายได้ทั้งหมดจะนำมาเป็นงบประมาณสำหรับค่าใช้จ่ายในฟาร์ม ซึ่งจะทำให้ฟาร์มมีความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ

 

พื้นที่ของวิถีชีวิตทางเลือกของคนรุ่นใหม่แม่ทา Sustainable Living Space
เป็นพื้นที่สำหรับคนรุ่นใหม่จากแม่ทาจะจัดกิจกรรมวิถีชีวิตทางเลือกในสไตล์/ประเด็นของตัวเอง ที่คนเมือง (หรือเกษตรกรรุ่นใหม่จากที่อื่น) สามารถเข้ามาเรียนรู้แบบในระยะเวลาสั้นๆ (1 – 3 ชั่วโมง) หรือระยะกลาง (3 – 7 วัน) โดยหลักสูตรกิจกรรมเรียนรู้วิถีชีวิตทางเลือกแบบ DIY (Do It Yourself) โดยเก็บค่าลงทะเบียน
* การทำแปลงปลูกผักขนาดเล็ก (สำหรับคนเมือง)
* การทำอาหารที่ใช้ผักพื้นบ้านและผลผลิตเกษตรอินทรีย์ที่ผลิตได้ในชุมชน
* การศึกษาทางเลือกให้กับเด็กๆ ในชุมชน ที่เป็นหลักสูตรพิเศษที่เด็กๆ ไม่ได้มีโอกาสที่จะเรียนรู้ในห้องเรียนปกติ
* งานศิลปะและหัตถกรรมจากวัสดุธรรมชาติและวัสดุรีไซเคิ้ล

 

ที่ดินภิบาล Land Stewardship

มาจากแนวคิด Sustainable Land Trust และ Land Stewardship (US) เจ้าของฟาร์ม (มีอายุมาก ทำการเกษตรไม่ไหว หรือใกล้เสียชีวิต) ยกที่ดินให้กับมูลนิธิ โดยมีเงื่อนไขสำคัญคือ ฟาร์มนี้จะต้องทำการเกษตร (ที่ดีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม) เจ้าของฟาร์ม มีความจำเป็นต้องใช้เงิน และไม่มีลูกหลาน ในหลายกรณี พื้นที่อาจจะอนุรักษ์ให้เป็นพื้นที่ธรรมชาติ (เช่น พื้นที่ชุ่มน้ำ, ทุ่งหญ้า, ป่า, ฯลฯ ก็ได้) ไม่จะป็นต้องเป็นพื้นที่การเกษตรอย่างเดียว ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ The Sustainable Iowa Land Trust (SILT) หรือ Land Trust Alliance

โดยจะจัดสรรที่ดินให้เกษตรกรที่ยากจนเข้ามาใช้ที่ดินแบบระยะยาว และสามารถสืบทอดต่อให้ลูกหลานได้ โดยมีเงื่อนไขให้ว่าจะต้องทำ เกษตรอินทรีย์เท่านั้น (จะให้สิทธิกับเกษตรกรรุ่นใหม่ และเกษตรกรที่อยู่ในชุมชนก่อน ตามลำดับ) ก่อนมอบเอกสารสิทธิ (ในการใช้ประโยชน์ที่ดิน) ให้กับเกษตรกร เกษตรกรจะต้องผ่านหลักสูตรการฝึกงานในพื้นที่เป็นระยะเวลา 6 เดือนก่อน รวมทั้งมีกลไกการสนับสนุนให้เกษตรกรทำการผลิต ที่เน้นการบริโภคในครอบครัว และถ้ามีผลผลิตเหลือ ก็จะมีการจัดการผลผลิตผ่านวิสาหกิจชุมชน

 

เงินลงทุนที่จำเป็น

โครงการนี้ ต้องการเงินลงทุนสำหรับ 3 ส่วน
1) เพื่อซื้อที่ดิน 5.1 ล้าน
2) เพื่อปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของฟาร์ม 1.5 ล้าน
3) เพื่อใช้ในการดำเนินงานในระยะแรก (ประมาณ 6 เดือน ก่อนที่จะเริ่มรายได้เลี้ยงตัวเอง) 0.5 ล้าน

 

การระดมทุน

เปิดระดมทุนทั้ง 2 วิธี คือ การลงทุนแบบบริจาคและการลงทุนแบบให้ยืม ที่ไม่ใช่การ “ซื้อหุ้น” เพราะการระดมทุน ที่ให้หุ้นเป็นสิ่งตอบแทน มีข้อบัญญัติทางกฏหมาย (พรบ. หลักทรัพย์และตลาดหุ้น)  ดังนั้น การระดมทุนนี้ จึงจะเป็นการลงทุนในลักษณะของการบริจาคหรือเงินยืมให้กับมูลนิธิแทน

หน่วยการลงทุนคือ 1,000 บาท/หน่วย โดยการลงทุนแบบบริจาคขอเป็นอย่างน้อย 1 หน่วยขึ้นไป ส่วนการลงทุนแบบให้ยืม ขอขั้นต่ำ คือ 10 หน่วย (10,000 บาท)

โดยเงินลงทุนแบบให้ยืมนี้ จะสามารถขอเงินลงทุนคืนได้ ภายใต้เงื่อนไข คือ
(ก) ห้ามขอเงินลงทุนคืนในช่วง 3 ปีแรก (จนถึงสิ้นปี 2564)
(ข) เงินคืนจะจำกัดตามกำไรทางการเงินของการทำธุรกิจของโครงการ โดยการตัดสินใจของกรรมการบริหารโครงการ

นอกจากนี้ โครงการจะจัดทำแผนกิจกรรมขอเงินสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ ตามความเหมาะสมและจำเป็น

 

สิทธิพิเศษผู้ลงทุนกับโครงการ

* เข้าร่วมในการประชุมใหญ่โครงการ โดยจะจัดเป็นงานมหกรรมในพื้นที่ของโครงการที่แม่ทา 2 วันหนึ่งคืน
* ได้ส่วนลดในการเข้าร่วมในกิจกรรมของโครงการและสินค้า-บริการของมูลนิธิสายใยแผ่นดินและวิสาหกิจชุมชนแม่ทาออร์แกนิค
* รับข่าวสาร (อาจเป็นอีเมล์จดหมายข่าว) และรายงานประจำปีของโครงการ ที่สรุปกิจกรรม การเงิน และผลตอบแทนทางสังคมของโครงการ

 

โครงสร้างการบริหาร

โครงการนี้โดยพื้นฐานเป็นโครงการร่วมระหว่างมูลนิธิสายใยแผ่นดินและวิสาหกิจชุมชนแม่ทาออร์แกนิค โดยมูลนิธิฯ จะเป็นเจ้าภาพหลัก ดังนั้น ที่ดินและทรัพย์สินต่างๆ จะจัดซื้อในนามของมูลนิธิฯ  ส่วนการบริหารโครงการจะมีกรรมการร่วมจาก 3 ส่วน คือ
* มูลนิธิสายใยแผ่นดิน
* วิสาหกิจชุมชนแม่ทาออร์แกนิค
* ตัวแทนจากผู้ลงทุน (ทั้งแบบบริจาคและแบบให้ยืม)

 

สนใจลงทุน

สมัครแสดงเจตจำนงในการลงทุนได้ที่ link

 

ผลทางสังคมที่คาดว่าจะเกิดขึ้น