โครงการเยาวชนเพื่อเศรษฐกิจยั่งยืน (Young People for Sustainable Economy: YPSE)
เริ่มต้นในวันที่ 1 ตุลาคม 2564 และใช้เวลายาวนานถึง 2 ปี โดยเป็นการรวบรวมคนรุ่นใหม่จำนวนมากที่มีภูมิหลังแตกต่างกัน ร่วมกับผู้นำเข้าและผู้ผลิตของสินค้าแฟร์เทรดจาก 4 องค์กรใน 4 ทวีป ได้แก่ Altromercato (อิตาลี), Earth Net Foundation (ไทย), Meru Herbs (เคนยา) และ Norandino (เปรู) ในโครงการเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ได้มีส่วนร่วมในแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสถานการณ์ของแฟร์เทรดในปัจจุบันต่อคนรุ่นใหม่ ระดมความคิดและจัดทำข้อเสนอแบบ “peer-to-peer” เพื่อดึงดูดคนรุ่นใหม่และเกิดเป็น 3 ผลิตภัณฑ์:
- แนวทางปฏิบัติสำหรับองค์กรแฟร์เทรด
- คู่มือดิจิทัลที่เผยแพร่ลงในเว็บไซต์ของพันธมิตร YPSE เพื่อให้คนรุ่นใหม่มีส่วนร่วมในประเด็นการบริโภคอย่างมีความรับผิดชอบ
- วิดีโอที่มีไว้เพื่อดึงดูดคนรุ่นใหม่ให้หันมาบริโภคอย่างมีความรับผิดชอบ
เป้าหมายโครงการ YPSE:
เพื่อกระตุ้นให้คนรุ่นใหม่มีส่วนร่วมในขบวนการแฟร์เทรด ด้วยการ
- สนับสนุนความสามารถและสร้างแรงจูงใจสำหรับคนรุ่นใหม่ที่เกี่ยวข้องกับแฟร์เทรด
- สร้างแนวคิดและเครื่องมือสำหรับสื่อสารกับคนรุ่นใหม่ให้ดียิ่งขึ้น
- กระตุ้นนวัตกรรมในพันธมิตร YPSE และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
ความคาดหวังของโครงการ YPSE
- สำหรับคนรุ่นใหม่ที่เกี่ยวข้อง: ส่งเสริมความมุ่งมั่น ความตระหนักรู้ และจิตวิญญาณของผู้ประกอบการ โดยการพัฒนาทักษะ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และเพิ่มค่านิยมเกี่ยวกับแฟร์เทรดให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น
- สำหรับองค์กรที่เข้าร่วม: กำหนดเป้าหมายและแผนงานใหม่ ผ่านความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับแนวโน้มและความคาดหวังของคนรุ่นใหม่ เพื่อสื่อสารและจัดกิจกรรมที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
- สำหรับองค์กรแฟร์เทรดโดยทั่วไป และองค์กรพันธมิตรอื่นๆ: เผยแพร่ผลลัพธ์ YPSE ในเครือข่ายพันธมิตร: WFTO ในระดับโลก, Equo Garantito ในอิตาลี, ผู้ผลิตในเปรู, เคนยา, ไทย และเครือข่ายระดับชาติและพันธมิตรในท้องถิ่น
ไทม์ไลน์ของโครงการ
1.การวิจัยของคนรุ่นใหม่เพื่อจะนำข้อมูลมาใช้ในโครงการ YPSE โดยการวิเคราะห์ปัญหา “แฟร์เทรดกับคนรุ่นใหม่” และวัตถุประสงค์ที่จะต้องบรรลุ (ธันวาคม 64 – มีนาคม 65)
2. ดำเนินการสำรวจในแต่ละประเทศของพันธมิตรเกี่ยวกับการรับรู้เรื่องแฟร์เทรด โดยคนรุ่นใหม่ของประเทศนั้น ๆ (มกราคม-มีนาคม 2565)
3. การเลือกกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่จะมีส่วนร่วมในการประชุมระหว่างประเทศ และการฝึกอบรมเกี่ยวกับประเด็นต่างๆที่จำเป็นสำหรับผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายของโครงการ (เมษายน-พฤษภาคม 2565)
4. การประชุมเยาวชนนานาชาติครั้งที่ 1 ที่ประเทศเคนยา เพื่อกำหนดสาเหตุที่ทำให้แฟร์เทรดไม่เป็นที่รู้จักสำหรับคนรุ่นใหม่ (กรกฎาคม 2565)
5. การประชุมเยาวชนนานาชาติครั้งที่ 2 ที่ประเทศเปรู เพื่อกำหนดเนื้อหาของดัชนีแนวทางและคู่มือดิจิทัล (กันยายน 2565)
6. การประชุมเยาวชนนานาชาติครั้งที่ 3 ที่ประเทศอิตาลี เพื่อกำหนดเนื้อหาของแนวทางปฏิบัติและคู่มือดิจิทัล และเกณฑ์สำหรับการจัดทำวิดีโอ (พฤศจิกายน 2565)
7. การประชุมเยาวชนนานาชาติครั้งที่ 4 ที่ประเทศไทย เพื่อแยกรายละเอียดเนื้อหาของแนวทางปฏิบัติและคู่มือดิจิทัล และการกำหนดเรื่องราวของวิดีโอ (กุมภาพันธ์ 2566)
8. แบ่งปันเกณฑ์ เนื้อหา และแผนงานสำหรับการบรรลุ 3 ผลิตภัณฑ์ให้กับคนรุ่นใหม่ที่เกี่ยวข้องและพันธมิตรของ YPSE (มีนาคม 2566)
9. สร้างผลิตภัณฑ์ YPSE ทั้ง 3 รายการ (เมษายน-กรกฎาคม 2566)
10 การนำเสนอและเผยแพร่ผลิตภัณฑ์ของโครงการ (กันยายน 2566)
3 ผลงานของโครงการ YPSE
1 แนวทางปฏิบัติสำหรับองค์กรแฟร์เทรด (Guidelines) From Youth for Youth แนวทางปฏิบัติที่จัดทำสำหรับองค์กร Fair Trade โดยนำเสนอข้อสะท้อนและข้อเสนอเพื่อช่วยให้ดึงดูดคนรุ่นใหม่มากขึ้น เขียนโดยคนรุ่นใหม่จากอิตาลี เคนยา เปรู และไทย!
แนวทางปฏิบัติสำหรับองค์กรแฟร์เทรด (Ver. Eng) (คลิก)
แนวทางปฏิบัติสำหรับองค์กรแฟร์เทรด (Ver. ไทย) (คลิก)
2. คู่มือดิจิทัล (Digital Handbook) ที่เชิญชวนคนรุ่นใหม่หันมาตระหนักถึงการบริโภคอย่างรับผิดชอบและดำเนินการต่อต้านวิกฤตภาวะโลกรวนเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน จัดทำโดยคนหนุ่มสาวที่เข้าร่วมในโครงการ “YPSE-Young People for Sustainable Economy” (คลิก)
3. วิดีโอ YOU ARE THE CHANGE! คุณคือการเปลี่ยนแปลง! เรื่องราวเล็กๆ ที่เกิดขึ้นใน 4 ทวีป สร้างสรรค์โดยคนรุ่นใหม่เพื่อเผยแพร่เกี่ยวกับการบริโภคอย่างรับผิดชอบและเศรษฐกิจที่ยั่งยืนเพื่ออนาคตที่ดีกว่าสำหรับทุกคน! (คลิก)