มาตราฐานและการรับรองเกษตร

มาตราฐานและการรับรองเกษตร

เนื้อหา

ด้วยเพราะความห่วงกังวลของผู้บริโภคต่อความปลอดภัยของอาหาร ทำให้มีหน่วยงานหลายร้อยแห่งทั่วโลก ได้ออกข้อกำหนดมาตรฐานการผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรแบบต่างๆ ทั้งเกษตรอินทรีย์ อาหารปลอดภัย ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ จนทำให้เกิดความสับสนอย่างมากกับผู้บริโภคว่า มาตรฐานเหล่านี้ต่างกันอย่างไร หรือแม้แต่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ก็ยังมีหลายมาตรฐานเช่นกัน

ที่จริงแล้ว ไม่ใช่แต่เพียงมาตรฐานที่ต่างกัน วิธีการตรวจสอบรับรองก็อาจแตกต่างกันด้วย ซึ่งแม้ว่าจะมีมาตรฐานที่ดี แต่ระบบการตรวจสอบรับรองที่หละหลวม ก็ทำให้ผลิตภัณฑ์ออร์แกนิคนั้นไม่น่าเชื่อถือ

ภาพรวมของมาตรฐานและการรับรองเกษตรในประเทศไทย

ความตื่นตัวในเรื่องความปลอดภัยด้านอาหารในประเทศไทยเกิดขึ้นมานานพอควร นับย้อนหลังไปนานกว่า 30 ปี โดยความตื่นตัวดังกล่าวเกิดขึ้นก่อนในหมู่ผู้บริโภค ที่สนใจในเรื่องการบริโภคอาหารธรรมชาติ และเป็นห่วงใยเกี่ยวกับผลกระทบต่อสุขภาพจากการบริโภคอาหารที่มีสารเคมีการเกษตรตกค้างและปนเปื้อนอยู่มาก ประกอบกับปัญหาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากการใช้สารเคมีการเกษตรโดยขาดความรับผิดชอบและขาดการควบคุมดูแล ทำให้มีการผลักดันให้มีการพัฒนามาตรฐานการผลิต-การแปรรูปสำหรับสินค้าอาหารออกมามากมาย ทั้งโดยหน่วยงานภาครัฐและเอกชน

ในระยะแรก การตรวจรับรองมาตรฐานจะเน้นที่การรับรองผลผลิต โดยการสุ่มผลผลิตการเกษตรมาตรวจหาสารเคมีตกค้างในห้องปฏิบัติการ (เช่น ผลผลิตปลอดภัยจากสารพิษ หรือ “ผักผลไม้อนามัย” ของกรมวิชาการเกษตร) แต่การตรวจวิธีนี้ต้องใช้เวลานานและค่าใช้จ่ายสูง จึงได้มีการพัฒนาชุดเครื่องมือทดสอบแบบง่ายๆ ซึ่งใช้เวลาไม่นานและไม่แพงมากนัก (แต่ก็จะมีข้อจำกัดเกี่ยวกับความถูกต้องของผลการตรวจ และชนิดของสารเคมีการเกษตรที่สามารถตรวจได้ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมใน “การตรวจผลผลิต” คลิ๊ก)

ชุดทดสอบสารเคมีตกค้างนี้ได้ทำให้เกิดความตื่นตัวอย่างมากในการตรวจสารเคมีตกค้างในผลผลิต และได้นำมาซึ่งการพัฒนาและจัดทำมาตรฐานอีกหลายระบบ (เช่น ผลผลิตปลอดภัยจากสารพิษ ของกรมส่งเสริมการเกษตร, การรับรองระบบตรวจสอบสารพิษตกค้างในผักสด/ผลไม้สด ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์)

ในขณะที่ภาคราชการมุ่งที่การพัฒนามาตรฐานอาหารปลอดภัย โดยเน้นที่การตรวจรับรองผลผลิต ภาคเอกชน โดยการริเริ่มขององค์กรพัฒนาเอกชนได้พัฒนาระบบการตรวจรับรองเกษตรอินทรีย์ขึ้น (สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์) โดยเน้นที่การตรวจรับรองการบริหารจัดการฟาร์มและผลผลิต ไม่ใช่ที่ตัวผลผลิตเท่านั้น ซึ่งเป็นไปตามแนวทางการตรวจรับรองที่ใช้ในสากล ภายใต้การผลักดันของสมาพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ (IFOAM)

หลังจากที่ภาคเอกชนได้ริเริ่มการพัฒนาระบบการตรวจรับรองเกษตรอินทรีย์มาระยะหนึ่ง หน่วยงานราชการจึงได้หันมาสนใจในการพัฒนาระบบรับรองเกษตรอินทรีย์ขึ้นมาบ้าง (สถาบันพืชอินทรีย์ กรมวิชาการเกษตร)

ในขณะเดียวกัน หน่วยงานราชการที่รับผิดชอบในเรื่องอาหารปลอดภัยได้เริ่มที่จะเปลี่ยนแนวคิดในเรื่องการตรวจรับรอง จากเดิมที่เป็นการตรวจผลผลิต มาเป็นการตรวจการบริหารจัดการฟาร์มแทน ซึ่งทำให้มีการพัฒนาระบบมาตรฐานเกษตรดีที่เหมาะสมขึ้น (เช่น เกษตรดีที่เหมาะสมสำหรับพืช โดยกรมวิชการเกษตร, การปฏิบัติที่ดี หรือ CoC ของกรมประมง และ … สำนักงานมาตรฐาน

นอกจากนี้แล้ว ยังมีความพยายามในการพัฒนามาตรฐานเกษตร ที่เฉพาะสำหรับสมาชิกในกลุ่มของตัวเอง โดยเฉพาะในหมู่องค์กรพัฒนา เช่น มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ขององค์กรมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ภาคเหนือ, มาตรฐานเกษตรธรรมชาติ ของ….., กสิกรรมไร้สารพิษ เป็นต้น หรือแม้แต่ซุปเปอร์มาร์เก็ตบางแห่งก็ได้พัฒนามาตรฐานและตรารับรองผลิตภัณฑ์ของตัวเองขึ้นด้วย (เช่น วงจรคุณภาพของคาร์ฟูร)

โดยภาพรวมแล้ว การมีระบบมาตรฐานและการตรวจรับรองสำหรับระบบเกษตรต่างๆ ในประเทศไทยน่าจะเป็นผลดีต่อผู้ผลิต เพราะอย่างน้อยก็ทำให้เกิดความแตกต่างของผลผลิต ซึ่งช่วยสร้างโอกาสทางการตลาดใหม่เพิ่มขึ้น แต่สำหรับผู้บริโภคแล้ว การมีมาตรฐานและตรารับรองหลากหลายทำให้เกิดความสับสน เพราะผู้บริโภคไม่สามารถที่จะเข้าใจถึงรายละเอียดมาตรฐานทางเทคนิค (ซึ่งที่จริงแล้ว แม้แต่นักวิชาการและเจ้าหน้าที่ราชการเองก็ยังไม่เข้าใจและสับสนในมาตรฐานต่างๆ)

โดยภาพรวมแล้ว สามารถแบ่งการรับรองมาตรฐานได้เป็น 2 กลุ่ม คือ (ก) เกษตรอินทรีย์-เกษตรยั่งยืน ที่เน้นในเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และ (ข) อาหารปลอดภัย ที่เน้นในเรื่องความปลอดภัยต่อผู้บริโภค

 

 

ประเภท
ตัวอย่างมาตรฐาน
ปุ๋ยเคมี
สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
สารเคมีกำจัดวัชพืช
อาหารปลอดภัย ปลอดภัยจากสารพิษ

เกษตรดีที่เหมาะสม

อนุญาตให้ใช้ อนุญาตให้ใช้ อนุญาตให้ใช้
เกษตรอินทรีย์ –

เกษตรยั่งยืน

เกษตรอินทรีย์

เกษตรธรรมชาติ

กสิกรรมไร้สารพิษ

ไม่อนุญาต ไม่อนุญาต ไม่อนุญาต

 

< กลับไปด้านบน >

ตรารับรองมาตรฐานในประเทศไทย

จากการสำรวจสินค้าการเกษตรในตลาดในกรุงเทพ โดยกรีนเนท ในช่วงเดือนเมษายน 2552 พบว่ามีการใช้ตรารับรองผลผลิตเกษตรทั้งหมด 6 ตรา ดังนี้

ตรารับรอง

มาตรฐาน

หน่วยงานรับรอง

กรอบมาตรฐาน

เริ่มปี

เกษตรอินทรีย์

สำนักงานมาตรฐาน

เกษตรอินทรีย์ (มกท.)

เกษตรอินทรีย์

2538

เกษตรอินทรีย์

กรมวิชาการเกษตร

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

เกษตรอินทรีย์

2544

เกษตรดีที่เหมาะสม

กระทรวงเกษตรและสหกรณ

เกษตรดีที่เหมาะสม

โดยกรมวิชาการเกษตรและ มกอช.

2546

ปลอดภัยจากสารพิษ

(บางครั้งก็เรียก “อนามัย”)

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

Codex’s MRL และMRL ของประเทศไทย

2526

การรับรองระบบตรวจสอบ

สารพิษตกค้าง ในผักสด/ผลไม้สด

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กระทรวงสาธารณสุข

มีระบบการตรวจวิเคราะห์

สารพิษตกค้าง

ของผลผลิตผักสดและผลไม้

2542

วงจรคุณภาพ

คาร์ฟูร์

ความปลอดภัยของอาหาร

ที่จำหน่ายในคาร์ฟูร์

2543

แต่ก็มีข้อมูลว่า มีการรับรองมาตรฐานอื่นๆ ซึ่งไม่พบบ่อยนักในตลาด อีก 2 ตรา คือ

เกษตรอินทรีย์

องค์กรมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ภาคเหนือ (มอน.)

เกษตรอินทรีย์

2540

เกษตรธรรมชาติ

กรมการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ

เ๋กษตรธรรมชาติ

< กลับไปด้านบน >

จดหมายข่าว

x
X