ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนสิงหาคม 2552 โดยมูลนิธิสายใยแผ่นดิน ในลักษณะของโครงการ โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม สุขภาพ (สสส.) โครงการมีแผนที่จะสนับสนุนให้มีการจัดตั้งหน่วยงานความร่วมมือระดับประเทศ ที่ทำหน้าที่เป็นกลไกสนับสนุนการปรับตัวของชุมชนท้องถิ่น ในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ โดยมีภาคีความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการระดมความคิดเห็นและสร้างการมีส่วนร่วมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการร่วมกันผลักดันให้มีการก่อตั้งหน่วยงานสนับสนุนการปรับตัวเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศขึ้น
หน่วยสนับสนุนนี้มีวัตถุประสงค์หลักดังต่อไปนี้
- สนับสนุนทางวิชาการ โดยการสืบค้นและรวบรวมข้อมูลและความรู้ทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง แล้วทำการสังเคราะห์/วิเคราะห์ เพื่อสนับสนุนการด้าเนินงานของหน่วยงานในระดับพื้นที่
- สนับสนุนในเชิงกระบวนการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างกระบวนการเรียนรู้และกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคีต่างๆ ในระดับพื้นที่
- สนับสนุนในเชิงเครือข่าย เพื่อกระชับและพัฒนาความร่วมมือจากหน่วยงาน/ภาคีที่เกี่ยวข้อง
- วิเคราะห์/สังเคราะห์บทเรียนจากการด้าเนินกิจกรรมของโครงการและนโยบายต่างๆ ของรัฐบาล
- ติดตามความคืบหน้ของข่าวคราวความเคลื่อนไหวและการกิจกรรมต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อเผยแพร่ให้กับหน่วยงาน/ภาคีที่เกี่ยวข้องได้เท่าทันกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
- การประชาสัมพันธ์ เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ และสังคมวงกว้างได้รับทราบเกี่ยวกับกิจกรรมของโครงการเกี่ยวกับการปรับตัวของชุมชนต่างๆ
โครงการนี้ได้จัดทำหนังสือ/เอกสารเผยแพร่หลายเล่ม เช่น
- สาเหตุที่ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง:ข้อเท็จจริง (2552, เอกสารถ่ายสำเนา)
- เครื่องมือและกระบวนการและกิจกรรมในการสนับสนุนการปรับตัวของชุมชน เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (2552, เอกสารถ่ายสำเนา)
- เกษตรยั่งยืน ความหวังสร้างโลกเย็น: พลิกวิกฤตโลกร้อนด้วยวิถีเกษตรยั่งยืน (2553)
- การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ: ความเปราะบางและแนวทางการปรับตัวเพื่อรับมือกับภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (2554)
- เกษตรอินทรีย์: ลดโลกร้อนและช่วยรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (กำลังจัดพิมพ์)
รวมทั้งมีการจัดทำโครงการนำร่องสนับสนุนการปรับตัวของชุมชน 10 แห่งใน 8 จังหวัดทั่วประเทศ (ดูข้อมูลเพิ่ม)
Attachment | ขนาด |
---|---|
global warming_fact and factor.pdf | 1.44 MB |