ปี พ.ศ. | ขอบเขตการศึกษา | จำนวนสุ่มสำรวจ | งานวิจัยโดย |
---|---|---|---|
2542-43 |
เชียงใหม่ |
390 |
Sangkumchaliang and Huang (2012) |
2547 |
กรุงเทพฯ |
400 |
รัชดา สิริภาณุพงศ (2547) |
2548 |
กรุงเทพฯ |
110 |
กัลยาณี กุลชัย และพีรชัย กุลชัย (2549) |
2548 |
กรุงเทพฯ |
848 |
Roitner-Schobesberger, Darnhofer, Somsook, Vogl (2008) |
2554 |
กรุงเทพฯ |
385 |
Till Ahnert (2011) |
2554 |
กรุงเทพฯ |
23 |
มูลนิธิสายใยแผ่นดิน (2554) |
2556 |
กรุงเทพฯ |
650 |
ศูนย์วิจัยเอแบค (2556) |
2556 |
กรุงเทพฯ |
400 |
ปิลันธนา แป้นปลื้ม (2557) |
งานศึกษาของ Sangkumchaliang and Huang (2012) เป็นการศึกษาในช่วงระหว่างปลายปี 2542 ต่อต้นปี 2543 โดยการสุ่มสัมภาษณ์ผู้บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่จำนวน 390 คน ผลการศึกษาพบว่า 36.0% ของผู้ที่สุ่มสำรวจไม่เคยได้รับรู้เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ 30.2% ระบุว่า เคยได้ยิน แต่ไม่เคยซื้อ และ 36.1% ที่เคยได้ยินและซื้อสินค้าออร์แกนิค ปัจจัยส่วนตัว/ครอบครัวที่สำคัญของผู้ซื้อ คือ เพศ ระดับการศึกษา การมีเด็กในครอบครัว ในขณะที่ระดับรายได้ไม่ค่อยมีความสำคัญในการเลือกซื้อเท่าใดนัก และเหตุผลสำคัญในการเลือกซื้อสินค้าออร์แกนิคก็คือ ปลอดสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (90%) มีความปลอดภัยกว่าเพราะมีการตรวจสอบรับรอง (88%) มีความสดกว่า (64%) และมีรสชาติดีกว่า (50%) แต่ประเด็นที่น่าเป็นห่วงมากก็คือ 71% ของผู้บริโภคที่บอกว่า เคยได้ยินเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ยอมรับว่า รู้เรื่องเกษตรอินทรีย์น้อยมาก รวมทั้งมีผู้บริโภค 26.8% ที่คิดว่า ไม่มีความแตกต่างระหว่างสินค้าออร์แกนิคและสินค้าปลอดภัย และ 23.4% ไม่ทราบว่ามีความแตกต่างระหว่างสินค้า 2 ประเภทนี้ หรือในอีกนักหนึ่ง มีผู้บริโภคเพียงครึ่งหนึ่ง (49.8%) เท่านั้นที่รู้ว่ามีความแตกต่างระหว่างสินค้าออร์แกนิคและสินค้าปลอดภัย
ในงานศึกษาของรัชดา สิริภาณุพงศ (2547) ที่ทำการสำรวจผู้บริโภคผักออร์แกนิคและผักปลอดภัยจากสารพิษจำนวน 400 คน ในเขตกรุงเทพ พบว่า ปจจัยส่วนตัว เช่น อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส อาชีพ รายไดสวนตัว รายไดครอบครัว ความรูและทัศนคติเกี่ยวกับผักอินทรีย มีความสัมพันธกับการบริโภคผักอินทรียอยางมีนัยสําคัญ ส่วนปจจัยดานการตลาดที่มีความสําคัญตอการเลือกซื้อนั้น ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์มีความสำคัญมากที่สุด
กัลยาณี กุลชัย และพีรชัย กุลชัย (2549) ทำการสำรวจเฉพาะผู้บริโภคผักออร์แกนิค 110 คน ในเขตกรุงเทพ พบว่า ผู้บริโภคจะเลือกซื้อผักมาประกอบอาหารเองเป็นประจำ และส่วนใหญ่เป็นผู้บริโภคที่เลือกซื้อผักออร์แกนิคมานานกว่า 4 ปี โดยจะเลือกซื้อผักอินทรีย์ที่มีฉลากแสดงว่าเป็นผักอินทรีย์เป็นลำดับแรก และเหตุผลสามลำดับแรกของการเลือกซื้อผักอินทรีย์ คือ ความปลอดภัยจากสารเคมี สุขภาพของครอบครัว และเชื่อว่าผักอินทรีย์สะอาด
การศึกษาของ Roitner-Schobesberger, Darnhofer, Somsook, Vogl (2008) ที่ทำการสำรวจผู้บริโภค 848 คนในกรุงเทพฯ และพบว่า ผู้บริโภคที่มีระดับการศึกษาสูงและมีรายได้สูง (ซึ่งเป็นความสัมพันธ์กันเองอยู่แล้ว) จะมีแนวโน้มในการเลือกซื้ออาหารออร์แกนิคมากกว่า รวมทั้งผู้บริโภคที่มีอายุมาก รวมทั้งมีครอบครัวที่มีเด็ก ผู้บริโภคกว่าครึ่งหนึ่งที่รู้จักตรารับรองของผักปลอดภัยจากสารพิษ และมีเพียง 10% ที่รู้จักตรารับรองเกษตรอินทรีย์ แต่ที่น่าตกใจก็คือ มีผู้บริโภคมากกว่าครึ่งหนึ่งที่คิดว่า ตรารับรองอาหารอนามัยและปลอดภัยจากสารพิษก็คือตรารับรองเกษตรอินทรีย์ ซึ่งสอดคล้องกับผลของการสำรวจความเข้าใจของผู้บริโภค ที่ 46% ของผู้บริโภคเข้าใจว่า ผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์และปลอดภัยจากสารพิษนั้นไม่แตกต่างกัน
ส่วนการศึกษาของ Till Ahnert (2011) จาก German-Thai Chamber of Commerce ที่ได้สัมภาษณ์ผู้บริโภค 385 คน ในห้างท๊อปส์ซูเปอร์มาร์เก็ตและเซนทรัลฟูดฮอล พบว่า ผู้บริโภคราว 62% เคยได้ยินเกี่ยวกับสินค้าออร์แกนิค และ 80% ของผู้บริโภคในกลุ่มนี้ เลือกซื้อสินค้าออร์แกนิค โดยกว่า 90% เลือกซื้อเพราะเหตุผลด้านความปลอดภัยในการบริโภคอาหารออร์แกนิค ซึ่งเหตุผลนี้เป็นปัจจัยสำคัญของผู้บริโภคในทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะกลุ่มที่มีระดับรายได้ที่ต่างกัน อายุ สถานภาพการแต่งงาน และเพศ ส่วนเหตุผลลำดับรองลงมาในการเลือกซื้ออาหารออร์แกนิคคือเรื่อง การรักษาสิ่งแวดล้อม ทำให้สุขภาพดี มั่นใจในสินค้าเกษตรอินทรีย์ และเหมาะกับการปรุงอาหารที่บ้าน โดยผู้บริโภคออร์แกนิคจำแนกแยกแยะผลิตภัณฑ์ออร์แกนิคกับผลิตภัณฑ์ทั่วไปผ่านทางป้ายสินค้าในร้านขายปลีก การแสดงฉลาก และตรารับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์
ในการสำรวจความรับรู้ของพนักงานในเครือบริษัทปูนซิเมนต์ไทย ที่สนใจในเรื่องสุขภาพ จำนวน 23 คน 25 มีนาคม 2554 โดยความร่วมมือระหว่างมูลนิธิปูนซิเมนต์ไทยและมูลนิธิสายใยแผ่นดิน พบว่า มีผู้บริโภคที่สนใจในเรื่องสุขภาพเพียง 19.3% ที่เข้าใจเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์อย่างถูกต้อง ผู้บริโภคส่วนใหญ่เข้าใจว่า อาหารปลอดภัย (เช่น เกษตรปลอดสารพิษ ไร้สารพิษ ปลอดภัยจากสารพิษ ปลอดสารเคมี) ไม่ต่างไปจากเกษตรอินทรีย์ ซึ่งทำให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่สับสนระหว่างตรารับรองมาตรฐาน โดยเฉพาะตรารับรองอาหารปลอดภัย (ตรารับรอง Q) ที่ผู้บริโภคเกือบครึ่งหนึ่งเข้าใจว่าเป็นตรารับรองเกษตรอินทรีย์ ส่วนเหตุผลในการเลือกซื้ออาหารออร์แกนิคที่สำคัญคือ ความปลอดภัยด้านสารเคมีการเกษตร ความปลอดภัยด้านฮอร์โมน/ยาปฏิชีวนะ (ปศุสัตว์ สัตว์ปีก สัตว์น้ำ) และเพราะอาหารออร์แกนิคมีคุณค่าทางโภชนาการมากกว่า โดย 39% ของผู้บริโภคจะซื้ออาหารออร์แกนิคเดือนละ 1 – 2 ครั้ง และกว่าครึ่งของผู้บริโภคได้เลือกซื้ออาหารออร์แกนิคเพิ่มขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมา
ในช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ปี 2556 ศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ (SIMBA) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัย (ไทยรัฐออนไลน์ 2556 และ Digital Media 2556) ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพที่มีอายุมากกว่า 18 ปี จำนวน 650 ตัวอย่าง ภายใต้การศึกษา “ออร์แกนิคไลฟ์ในสไตล์ของคนกรุง” และพบว่า มีผู้บริโภคมากถึง 86.9% ที่ระบุว่า เคยบริโภคอาหารออร์แกนิค โดย 21.7% รับประทานเป็นประจำหรือทุกวัน 42.8% รับเป็นทานเป็นบางครั้ง และ 35.5% นานๆ ครั้ง นอกจากนี้ 56.3% ของกลุ่มตัวอย่างมีความเข้าใจว่า อาหารออร์แกนิคเป็นอาหารที่ไม่มีสารเคมีปนเปื้อนเจือปนและปลอดภัยกับร่างกาย แต่ขณะเดียวกัน เหตุผลหลักในการเลือกซื้ออาหารออร์แกนิคกลับเป็นเพราะคุณค่าทางอาหารที่ครบถ้วน (69.8%) เพื่อสุขภาพของตนและคนในครอบครัว (55.2%) และมีรสชาติที่อร่อย (28.3%) โดยสินค้าที่ผู้บริโภคในกลุ่มตัวอย่างนิยมซื้อมากที่สุดคือ ผักและผลไม้ (87.5%) ไข่หรือเนื้อสัตว์ (32.5%) นมหรือเครื่องดื่ม (21.8%) และอาหารแห้ง (11.1%) และช่องทางการขายในกลุ่มไฮเปอร์มารเก็ตเป็นที่ที่ผู้บริโภคเลือกไปซื้อหาอาหารออร์แกนิคมากที่สุด (36.0%) รองลงมาคือ ตลาดสด (21.5%) ซุเปอร์มาร์เก็ต (18.7%) ร้านเพื่อสุขภาพ (12.9%) และร้านสะดวกซื้อ (10.9%) ส่วนสื่อที่ผู้บริโภคในกลุ่มตัวอย่างได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับอาหารออร์แกนิคมากที่สุดคือ สื่อโทรทัศน์ (70.6%) นิตยสาร (46.5%) และหนังสือพิมพ์ (34.5%)
ปิลันธนา แป้นปลื้ม (2557) ได้สุ่มสัมภาษณ์ผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 400 คน เพื่อศึกษาพฤติกรรมในการซื้อสินค้าเกษตรอินทรีย์ และพบว่า ผู้บริโภคที่สุ่มนิยมซื้อผักสด โดยจะซื้อประมาณ 3 – 4ชนิดต่อครั้ง และมีค่าใช้จ่ายในการซื้อไม่เกิน 499 บาทต่อครั้ง โดยมักซื้อสินค้าในวันอาทิตย์ที่ซูเปอร์มาร์เก็ต เฉลี่ย 2 – 4 ครั้งต่อเดือน ใช้ระยะเวลาในการซื้อไม่เกิน 30 นาที และปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ และระดับการศึกษา มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อ
เมื่อนำรายละเอียดผลการศึกษาของงานวิจัยข้างต้นนี้มาเปรียบเทียบกัน ก็จะสามารถเห็นภาพบางอย่างของผู้บริโภคออร์แกนิคไทยในปัจจุบันได้ดังนี้
(ก) ปัจจัยส่วนตัวที่มีผลต่อการเลือกซื้อสินค้าออร์แกนิคนั้น ดูเหมือนว่า ปัจจัยเรื่องการศึกษาและอายุเพียง 2 ปัจจัยที่น่าจะมีผลในการตัดสินใจเลือกซื้อและบริโภค ในขณะที่ปัจจัยเรื่องรายได้ อาชีพ และการมีเด็กในครอบครัวยังไม่ชัดเจนมากนัก ส่วนขนาดของครอบครัวและการมีผู้ป่วยในครอบครัว ดูเหมือนจะไม่ได้เป็นปัจจัยส่วนตัวที่สำคัญแต่อย่างใด
อายุ | อาชีพ | การศึกษา | รายได้ | ขนาดของครอบครัว | มีเด็กในครอบครัว | มีผู้ป่วยในครอบครัว | |
---|---|---|---|---|---|---|---|
Sangkumchaliang and Huang (2012) | — | — | มีนัยสำคัญมาก | มีนัยสำคัญน้อย | — | มีนัยสำคัญมาก | — |
กัลยาณี | — | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | — | น้อยมาก |
รัชดา สิริภาณุพงศ (2547) | มี | มี | มี | มี | — | — | — |
Roitner-Schobesberger, Darnhofer, Somsook, Vogl (2008) | มี | — | มี | มี | — | มีน้อย | — |
Till Ahnert (2011) | ไม่มี | — | — | ไม่มี | — | — | — |
ปิลันธนา แป้นปลื้ม (2557) | มี | ไม่มี | มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี | ไม่มี |
(ข) ผู้บริโภคมากกว่าครึ่งหนึ่ง และอาจมากถึงสองในสาม ที่น่าจะรู้จักและเคยได้ยินเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์ แต่มีเพียงหนึ่งในสามหรือครึ่งหนึ่งของผู้บริโภคเหล่านี้ที่เลือกซื้อสินค้าออร์แกนิค ยิ่งไปกว่านั้น มีไม่ถึงครึ่งหนึ่งของผู้บริโภคที่ซื้อ ที่ได้เลือกซื้อสินค้าออร์แกนิคจริง เพราะส่วนใหญ่มีความเข้าใจผิดว่า เกษตรดีที่เหมาะสม/ผลิตภัณฑ์อาหารปลอดภัยไม่แตกต่างไปจากเกษตรอินทรีย์
ขอบเขต
การศึกษา |
สัดส่วนผู้รู้จักเกษตรอินทรีย์ | สัดส่วนผู้เลือกซื้อ
อาหารออร์แกนิค |
สัดส่วนผู้บริโภคเข้าใจถูกต้อง | งานวิจัยโดย |
---|---|---|---|---|
เชียงใหม่2542-43 |
90% |
36.1% |
49.8% |
Sangkumchaliang and Huang (2012) |
กรุงเทพฯ 2547 |
— |
34.3% |
— |
รัชดา สิริภาณุพงศ (2547) |
กรุงเทพฯ 2548 |
67% |
39.3% |
54% |
Roitner-Schobesberger, Darnhofer, Somsook, Vogl (2008) |
กรุงเทพฯ 2554 |
62% |
49.6% |
— |
Till Ahnert (2011) |
กรุงเทพฯ 2554 |
— |
— |
19.3% |
มูลนิธิสายใยแผ่นดิน (2554) |
กรุงเทพฯ 2556 |
— |
86.9% |
— |
ศูนย์วิจัยเอแบค (2556) |
(ค) เหตุผลในการเลือกซื้ออาหารออร์แกนิคจะเป็นเหตุผลในเรื่องของสุขภาพเป็นหลัก แต่เหตุผลรองลงมาดูเหมือนจะมีความแตกต่างกันมากของในแต่ละกรณีศึกษา
สุขภาพ | สิ่งแวดล้อม | กระแสนิยม | บริโภคตามคนใกล้ชิด | ดีต่อ
ผู้ผลิต |
โภชนา
การ |
ความสด | รสชาติดี | |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
Sangkumchaliang and Huang (2012) |
97% |
— |
30% |
— |
— |
— |
64% |
50% |
กัลยาณี |
ใช่ |
— |
— |
— |
— |
— |
ใช่ |
— |
รัชดา สิริภาณุพงศ (2547) |
70.1 |
7.3 |
17.5 |
25.5 |
— |
— |
— |
— |
Roitner-Schobesberger, Darnhofer, Somsook, Vogl (2008) |
ใช่ |
— |
— |
— |
— |
— |
— |
— |
Till Ahnert (2011) |
ใช่ |
ใช่ |
— |
— |
— |
— |
— |
— |
ศูนย์วิจัยเอแบค (2556) |
55.2% |
— |
— |
— |
— |
69.8% |
— |
28.3% |