เนื้อหา
- Southeast Asia START Regional Center
- ศูนย์ประสานงานและพัฒนางานวิจัยด้านโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
- โครงการผลกระทบของสนธิสัญญาและมาตรการต่างประเทศ ที่เกี่ยวข้องกับการลดและแลกเปลี่ยนสิทธิการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ต่อการค้าและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย
- โครงการพัฒนาความรู้และยุทธศาสตร์ความตกลงพหุภาคีด้้านสิ่งแวดล้อมและยุทธศาสตร์ลดโลกร้อน
- Regional Climate Change Adaptation Knowledge Platform for Asia
มีหน่วยงานวิชาการหลายแห่งในประเทศไทย ที่งานเกี่ยวกับโลกร้อนและการปรับตัว ส่วนใหญ่จะเป็นองค์กรที่ทำงานวิจัย แต่ก็มีองค์กรที่ทำในเชิงปฏิบัติการเช่นเดียวกัน
Southeast Asia START Regional Center
เป็นศูนย์ (node) งานวิจัยระดับภูมิภาค ของเครือข่ายใหญ่ระดับสากลที่มีชื่อว่า Global Change SysTem for Analysis, Research and Training (START) เครือข่ายนี้เป็นความร่วมมือของหลายหน่วยงาน คือ International Geosphere-Biosphere Programme (IGBP), International Human Dimension Programme (IHDP), และ World Climate Research Programme (WCRP)
START มีงานวิจัยและฝึกอบรมหลายด้าน โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ กิจกรรมของ START Regional Center นี้ครอบคลุมทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะงานวิจัยด้านการศึกษาสภาพภูมิอากาศในอนาคตของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผลกระทบ และความเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
ติดต่อได้ที่ www.start.or.th
ศูนย์ประสานงานและพัฒนางานวิจัยด้านโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ศูนย์ประสานงานและพัฒนางานวิจัยด้านโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Thailand Reserach Fund’s Reserearch and Development and Co-ordination Center for Global Warming and Climate Change – T-GLOB) จัดตั้งขึ้นโดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) โดย สกว. ได้สนับสนุนการวิจัยในชุดโครงการ “ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงและความแปรปรวนสภาพภูมิอากาศต่อประเทศไทย” ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2549 ที่มีสำนักประสานงานที่บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี โดยในช่วงระยะที่ 1 (พ.ศ.2549-2550) ได้สนับสนุนงานวิจัยเกี่ยวกับการสร้างภาพจำลองการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคตของประเทศไทย และในระยะที่ 2 (พ.ศ. 2550-2552) ได้ขยายการสนับสนุนเกี่ยวกับการศึกษาความอ่อนไหวและการตอบสนองของสาขาต่างๆ คือ เกษตร แหล่งน้ำ และภัยพิบัติธรรมชาติ และในปี พ.ศ. 2552 ทาง สกว. จึงได้ร่วมกับบัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จัดตั้ง “ศูนย์ประสานงานและพัฒนางานวิจัยด้านโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย” หรือเรียกสั้นๆ ว่า “ศูนย์วิจัยโลกร้อน”
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://climatechange.jgsee.org
< กลับไปด้านบน >
โครงการผลกระทบของสนธิสัญญาและมาตรการต่างประเทศ ที่เกี่ยวข้องกับการลดและแลกเปลี่ยนสิทธิการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ต่อการค้าและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย
เป็นโครงการของนักวิชาการจากหลายสถาบัน โดยได้รับทุนอุดหนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เพื่อทำการศึกษาผลกระทบของพิธีสารเกียวโตและมาตรการกีดกันทางการค้าที่คาดว่าจะ ใช้ประเด็นการลดก๊าซเรือนกระจกเป็นเครื่องมือใช้ในการกีดกันการนำเข้าสินค้า จากประเทศไทย เพื่อใช้เป็นแนวทางการกำหนดนโยบาย หรือมาตรการตั้งรับที่เหมาะสม เพื่อลดผลกระทบในเชิงลบ มิให้มีผลกระทบต่อกิจกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน และนำเสนอแผนวิจัยและแนวทางการดำเนินงานและในระยะ 2-3 ปี เพื่อรองรับการเตรียมพร้อมของประเทศ เพื่อใช้เป็นข้อมูลเรื่องเครื่องมือ เพื่อกำหนดทิศทางหรือมาตรการเชิงนโยบายที่เหมาะสมของประเทศไทย เพื่อลดผลกระทบจากมาตรการดังกล่าวในอนาคต
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.jgsee.kmutt.ac.th/greenhouse/
โครงการพัฒนาความรู้และยุทธศาสตร์ความตกลงพหุภาคีด้้านสิ่งแวดล้อมและยุทธศาสตร์ลดโลกร้อน
เป็นโครงการวิจัยของนักวิชาการจากหลายสถาบัน ภายใต้การประสานงานของสถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยได้รับทุนอุดหนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) โดยเน้นที่การสร้างองค์ความรู้ในเชิงลึกเกี่ยวกับประเด็นการเจรจาที่สำคัญและมีผลกระทบเกี่ยวโยงกับประเทศไทย เพื่อนำผลการศึกษาไปใช้ประโยชน์ในการเจรจาและการกำหนดจุดยืนของไทย และการดำเนินงานภายในประเทศเพื่อรองรับการจัดการแก้ไขปัญหาโลกร้อน
โครงการวิจัยนี้ ยังจัดให้มีเวทีกลางสำหรับภาคประชาสังคมในการติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆ เกี่ยวกับปัญหาโลกร้อน ตลอดจนกฎระเบียบหรือมาตรการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาโลกร้อน โดยใช้ชื่อเวทีกลางดังกล่าวว่า “Global Warming Forum”
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.measwatch.org
Regional Climate Change Adaptation Knowledge Platform for Asia
เป็นองค์กรเครือข่ายที่จัดตั้งขึึ้น เพื่อสนับสนุนการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการปรับตัวเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งการสนับสนุนการพัฒนาขีดความสามารถของประเทศในเขตภูมิภาคเอเชียในการปรับตัว ทั้งในด้านของงานวิจัย การจัดทำนโยบย และการพัฒนาศักยภาพด้านอื่นๆ ทั้งในระดับท้องถิ่น ประเทศ และภูมิภาคเอเชีย โดยมีเป้าหมายหลักในการสร้างกลไกระดับประเทศและภูมิภาค ที่ช่วยสนับสนุนให้มีการผนวกเรื่องการปรับตัวเข้าไปในนโยบายการพัฒนาของประเทศ/ภูมิภาค รวมทั้งการวางแผนและกระบวนการทำงานต่างๆ ตอลดจนการพัฒนาสถาบันและการวิจัย เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องนี้
เครือข่ายนี้ มีสำนักงานเลขาอยู่ที่ AIT-UNEP Regional Resource Centre for Asia and the Pacific (RRC.AP) ซึ่งตั้งอยู่ที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (Asin Institute of Technology)
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.climateadapt.asia